นวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสันทนาการเป็นฐานในรายวิชาภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในองค์กรธุรกิจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหานวัตกรรมจากการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสันทนาการเป็นฐานในรายวิชาภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในองค์กรธุรกิจ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ จำนวน 148 คน ใช้วิธีการจัดกิจกรรมสันทนาการในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ กิจกรรมสันทนาการ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group) นักศึกษาต้องการใช้กิจกรรมสันทนากลุ่มเพื่อจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในองค์กรธุรกิจ 2) ความพึงพอใจสูงสุดในการจัดกิจกรรมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ คือ ด้านทักษะการเป็นผู้นำ/ทีมกิจกรรมสันทนาการ 3) ความถี่สูงสุดเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ประเมินกิจกรรมสันทนาการ คือ อยากให้รายวิชาอื่น ๆ จัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการมีส่วนร่วม และสนุกสนานไปกับผู้สอน 4) รูปแบบกิจกรรมสันทนาการที่เกิดขึ้นในรายวิชา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด.
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). การจัดการองค์การ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกริก ท่วมกลาง, และ จินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์สถาพรบุคส์.
เดชดนัย จุ้ยชุม, เกษรา บ่าวแช่มช้อย , และ ศิริกัญญา แก่นทอง. (2(3)). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 47-57.
ทิศนา แขมมณี. (2557). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธีระศักดิ์ ไชยสัตย์. (17 มกราคม 2563). เข้าถึงได้จาก https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/19th-ngrc-2018/HMP1/HMP1.pdf: www.kku.ac.th
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. นครปฐม: บริษัท ส เจริญการพิมพ์ จำกัด.
วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ, และ ปิยะนันท์ พรึ่งน้อย. (34 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม). นวัตกรรมการศึกษาในการพัฒนาทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 55-78.
สมเดช สีแสง. (2543). คู่มือปฏิบัติราชการและเตรียมสอบผู้บริหารการศึกษา. ชัยนาท: เรียนดี.