กลไกการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานำร่อง สำหรับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สุบัน พรเวียง

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการและแนวทางการขับเคลื่อนการ ประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานำร่อง สำหรับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ 2) พัฒนากลไกการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพการศึกษา และ 3) ประเมินกลไกการขับเคลื่อนการประกัน คุณภาพการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการ ขับเคลื่อนการประกันคุณภาพการศึกษา ใช้การสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูและบุคลากรทางการ ศึกษาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 317 คน และศึกษาแนวทางการขับเคลื่อน ใช้การสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาและตรวจสอบกลไกการขับเคลื่อน ใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการและการ สนทนากลุ่ม จากนักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญ ครั้งละ 9 คน และขั้นตอนที่ 3 ประเมินกลไกการ ขับเคลื่อน ใช้การสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 317 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา 
        ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานำร่อง สำหรับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ความต้องการการขับเคลื่อน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และแนวทางการขับเคลื่อน ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การตรวจสอบ คุณภาพการศึกษา และการประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนากลไก ผลการ พัฒนากลไกการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานำร่อง สำหรับพื้นที่นวัตกรรม การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านคณะกรรมการ 2) ด้านบทบาทหน้าที่ 3) ด้าน กระบวนการ และ 4) ด้านการรายงานผล มีผลการตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม โดยรวม อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินกลไกการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานำร่อง สำหรับพื้นที่นวัตกรรมารศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นุจนาจ ขุนาพรม. (2560). แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พจรัตน์ คูณทวีลาภผล. (2559). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก, หน้า 1-23.

พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก, หน้า 102.

ยุวดี ก๋งเกิด. (2561). การพัฒนาการดําเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 8: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคคลากรทางการศึกษา สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สมประสงค์ ยมนา. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการวิเคราะห์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้รองรับการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2546). ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 608.