การสังเคราะห์งานวิจัยในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา วิชาเอกการศึกษาเพื่อการพัฒนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการวิจัยเรื่อง “การสังเคราะห์งานวิจัยในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา วิชาเอกการศึกษาเพื่อการพัฒนา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” จำนวน 22 เรื่อง ในช่วงปี 2558-2561 การวิจัยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพและใช้แนวคิดหลัก คือ การสังเคราะห์งานวิจัยและการศึกษาเพื่อการพัฒนา (Development Education: DE) การวิจัยมีข้อค้นพบหลัก ได้แก่ 1. งานวิจัยทั้งหมดมีแนวโน้มเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ/การถอดบทเรียน มุ่งเน้นในประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม ดำเนินการในภาคเหนือโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่วิจัยในโรงเรียน และมุ่งศึกษากับนักเรียน นักศึกษามากที่สุด 2. วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยทั้งหมดสามารถแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่ม ได้แก่ เพื่อศึกษากระบวนการ/การถอดบทเรียน เพื่อออกแบบแผนการเรียน/แผนกิจกรรมและหาผลสัมฤทธิ์ และเพื่อสำรวจประเด็นทางสังคม 3. การสังเคราะห์ได้สะท้อนประเด็นปัญหาด้านการพัฒนาและการศึกษาหลายระดับของประเทศไทยในบริบทประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในภาคเหนือซึ่งเป็นชายขอบของการพัฒนา นอกจากนี้ยังสะท้อนการใช้แนวคิด DE หลายระดับ ตั้งแต่ความหมายในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองมาจนถึงยุคปัจจุบัน แม้จะมีข้อเสนอให้ DE ยุคนี้มุ่งเน้นแนวคิดเชิงวิพากษ์มากขึ้นทั้งในประเทศไทยและในระดับนานาชาติก็ตาม ซึ่งการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้าน DE ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศและความเคลื่อนไหวในระดับนานาชาติจึงจำเป็นต้องได้รับการพิจารณาต่อไป
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2552). เอกสารหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2552). ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562, จาก http://portal.edu.chula.ac.th/dev_ed/assets//d52.pdf
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2556). เอกสารหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556. (เอกสารอัดสำเนา).
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2557). เอกสารหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557). ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562, จาก http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache: http://www.edu.nu.ac.th/th/course/download/mpatana.pdf
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2556). เอกสารหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556). ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562, จาก http://www.educ.su.ac.th/2013/images/stories/Download_ document/F_11.pdf
ชัยพงษ์ สำเนียง และพิสิษฏ์ นาสี. (2557). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: พื้นที่การเมือง (กึ่ง) ทางการโดยคนที่ไม่เป็นทางการ. มนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 15(1), 106-146.
ไชรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2549). วาทกรรมการพัฒนา อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
นงเยาว์ เนาวรัตน์. (2561). การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
นพพร จันทรนำชู. (2559). พัฒนศึกษา: ความหลากหลายของกระบวนทัศน์ทางการศึกษา/การพัฒนา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 36(2), 149-171.
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2555). อัตลักษณ์ซ้อนของนักมานุษยวิทยาในบ้านเกิด. ใน ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บ.ก.), คนใน ประสบการณ์ภาคสนามของนักมานุษยวิทยาไทย. (น. 199-229). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์. (2546). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิจิตร ศรีสอ้าน, ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย และสิริวรรณ ศรีพหล. (2552). เอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิวรักษ์ ศิวารมย์. (2551). สังคมศาสตร์การศึกษา. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2561). กระบวนการวิจัยเชิงสังเคราะห์. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2562, จาก https://www.hsri.or.th/sites/default/files/attachment/res2561_2_3.pdf
สุวิมล ว่องวาณิช. (2554). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์. (2550). ความสุข: การวัดความสุขของคนในชาติและนโยบายที่ส่งเสริมให้คนเป็นสุขควรเป็นอย่างไร (ปรับปรุงจาก Policy Brief No.7). ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562, จาก https://www.happysociety.org/ uploads/HsoDownload/8/download_file.pdf
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2551). พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’ (น. 217-298). เชียงใหม่: ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Appadurai, A. (1996). Modernity At Large. Minneapolis: University of Minnesota Press.
De Certeau, M. (1984). The Practice of Everyday Life (Steven Rendall, Trans.). Berkeley: University of California Press.
Dillon, E. (2016). Development Education in Third Level Education. In Michal Cenkar, Louiza Hadjivasiliou, Patrick Marren and Niamh Rooney (Eds.). Development Education in Theory and Practice. (pp. 11-19). n.p.: UNIDEV-NGO Support Center (Cyprus), Pontis Foundation (Slovakia), Kimmage Development Studies Center (Ireland).
Freire, Paulo. (1972). Pedagogy of the Oppressed. London: Penguin.
Freire, Paulo. (2000). Pedagogy of Freedom (First Published 1996). Maryland, U.S.A.: Rowman & Littlefield Publishers, Inc.
Giroux, H. (2005). Border Crossings. New York: Routledge.
Khoo, S. M., & McCloskey, S. (2015). Reflections and projections: Policy and Practice ten years on. In Stephen McCloskey (Ed.), A Development Education Review Issue 22 Spring 2015. (pp. 1-17). Belfast: Centre for Global Education.
McLaren, Peter. (2003). Life in Schools: An Introduction to Critical Pedagogy in the Foundations of Education (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Kitiarsa, Pattana. (2012). Mediums, Monks, and Amulets: Thai Popular Buddhism Today. Chiang Mai: Silkworm Books in association with University of Washington Press, Seattle.
Nasee, Pisith. (2018). Constructing Khruba’s Charisma and Religious Network in Contemporary Thai Society (Doctoral dissertation). Chiang Mai University. Chiang Mai.
Skinner, A., Blum, N., & Bourn, D. (2013). Development Education and Education in International Development Policy: Raising Quality through Critical Pedagogy and Global Skills. International Development Policy, 4.3, 1-14, Retrieved August 17, 2019, from https://journals.openedition.org/poldev/1654; Doi: 10.4000/poldev.1654