การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ตำนานเมืองปตานี จังหวัดปัตตานี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามกระบวนทัศน์สร้างสรรค์สังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กระบวนการสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด ตำนาน เมืองปตานี จังหวัดปัตตานี ตามกระบวนทัศน์สร้างสรรค์สังคม โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2) วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ทักษะการอ่านจับใจความและกระบวนการสร้างองค์ความรู้จากการอ่านด้วยตนเอง โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง 3) วิเคราะห์ผลของการเรียนรู้การอ่านจับใจความจากหนังสือส่งเสริมการอ่านที่มีต่อการปรับเปลี่ยนจิตสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง โดยสะท้อนผลจากกิจกรรมการเรียนรู้
ผลการวิจัยพบว่า การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน เป็นกระบวนทัศน์ในการสร้างสรรค์ความรู้และความจริงในการเล่าเรื่องตำนานของท้องถิ่นภายใต้กระบวนทัศน์สร้างสรรค์สังคมที่อยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยเน้นการสร้างความรัก ความสามัคคี และการปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสำนึกรักถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง กระบวนการเรียนรู้ทักษะการอ่านจับใจความตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง พบว่า นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย ได้แก่ การตั้งคำถาม การเรียนรู้แบบร่วมมือ และการลงมือปฏิบัติ ผลของการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในการอ่านมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลให้นักเรียนเกิดความภาคูมิใจในบ้านเกิดของตนเอง และเกิดความสามัคคีในการอยู่ร่วมกันในสังคมมากขึ้น
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ณัฐชริกา ขวัญเดือน. (2558). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางชีววิทยาของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 บนฐานกระบวนทัศน์สร้างสรรค์สังคม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 18) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณฑนา พิพัฒน์เพ็ญ. (2552). พลวัตของการศึกษาในชุมชนไทย. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
มณฑนา พิพัฒน์เพ็ญ. (2557). “ทบทวนอัตลักษณ์แห่งตัวตนของครูภายใต้วิธีคิดของการศึกษาสมัยใหม่” วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 6 (1), 301 -320.
วิจารณ์ พานิช. (2556). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตาพับบลิเคชัน.
ศิริวรรณ เสนา .(2541). การศึกษาลักษณะของเนื้อความสำหรับฝึกคัดลายมือที่ส่งผลต่อพัฒนาการและความเข้าใจ ในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การประถมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการจัดสอบวัดความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test: NT) ปีการศึกษา 2560. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
สมชาย หอมยก. (2550). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สมพร แพ่งพิพัฒน์. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
อนันต์ วัฒนานิกร. (2531). ประวัติเมืองลังกาสุกะ เมืองปัตตานี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสยาม.
อิสมาอีล เบญจสมิทธิ์. (2558). มองประวัติศาสตร์ปัตตานีผ่านภาพถ่าย. ปัตตานี : สมิลันเพรส ปัตตานี.
Dallmann, Martha and Others. (1978). The Teaching of Reading. 5th ed New York : Holt, Rienhart and Winston.