การพัฒนาแบบวัดความพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามทฤษฎีของโคลเบิร์ก

Main Article Content

ณัฎฐา มูลปา
สุรีพร อนุศาสนนันท์
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามทฤษฎีของโคลเบิร์ก 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามทฤษฎีของโคลเบิร์ก และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติและคู่มือการใช้แบบวัดความพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามทฤษฎีของโคลเบิร์ก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 1,241 คน ซึ่งเลือกมาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบบวัดที่พัฒนาขึ้น มี 3 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความพอประมาณ แบบวัดความมีเหตุผลและแบบวัดการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ข้อคำถามเป็นสถานการณ์ให้เลือกตอบ 5 ตัวเลือก ซึ่งแต่ละตัวเลือกแทนระดับขั้นพฤติกรรมต่างๆ ตามทฤษฎีของโคลเบิร์ก 5 ขั้น และให้คะแนนตามระดับขั้นพฤติกรรมของโคลเบิร์ก


ผลการวิจัยพบว่า แบบวัดความพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามทฤษฎีของโคลเบิร์กมีความตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหากับตัวชี้วัด (IOC) เท่ากับ .67-1.00 ค่าอำนาจจำแนกของแบบวัดโดยการทดสอบที (t-test) มีค่าตั้งแต่ 2.04 -21.22 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .916 ค่าความตรงตามสภาพ เท่ากับ .88 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง  พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จาก พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 1805.64 (p = .000) ค่า RMSEA เท่ากับ .046 ค่า CFI มีค่าเท่ากับ .98 ค่า GFI มีค่าเท่ากับ .89 ค่า และค่า RMR มีค่าเท่ากับ .43 ตามลำดับ เกณฑ์ปกติของแบบวัดความพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามทฤษฎีของโคลเบิร์ก มีคะแนนที (T-score) ตั้งแต่ T19 ถึง T77





Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฎฐา มูลปา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุขอ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

สุรีพร อนุศาสนนันท์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ภาควิชา วิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

สมพงษ์ ปั้นหุ่น, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ภาควิชา วิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ภาควิชา วิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

References

แก้วใจ อุตะมะ. (2544). การสร้างเครื่องมือวัดการอยู่อย่างพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 4. (กศ.ม.), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวบรวมกฎหมายที่สนับสนุนในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). ศาสตร์ของพระราชา: ผู้นำโลกในการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมกฎหมายสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพรปรมินทรมาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ชลิดา ลุนสะแกวงษ์. (2558). การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ชุติมา สังทรัพย์. (2559). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสุจริต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา,

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2551). จิตพอเพียง เครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม).

ปราณี เข็มวงษ์. (2553). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะความพอเพียงตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดนครสวรรค์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 1(2), 294-306.

พระมหาวิเชาว์ ปญฺญาวชิโรและคณะ. (2548). การศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมและเจตคติเชิงจริยธรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยสงฆ์และนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐบาล. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

มนลดา กล่อมแก้ว. (2555). การสร้างแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร. (บัณฑิตวิทยาลัย), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันทัด สุทธิพงษ์. (2555). การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช,

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2558). การวัดและประเมินในชั้นเรียน. ชลบุรี: โรงพิมพ์ บริษัท เก็ทกู๊ดครีเอชั่น จำกัด.

สุวรรณา อรรถชิตวาทิน. (2552). การสร้างแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงด้านการดำเนินชีวิตของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. (กศ.ม.), มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ กรุงเทพฯ.

อรพินทร์ ชูชม. (2545). เอกสารคำสอน วิชา วป 502 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัชรา เอิบสุขสิริ. (2559). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียนและสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2558). การศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ. E-Journal, Slipakorn University, 2, 2140-2154.