การพัฒนาการสอนอ่านออนไลน์โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาและกลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านออนไลน์และการใช้กลวิธีการอ่านเชิงอภิปัญญาและกลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Main Article Content

ณัฐฐิรา ปุยะกุล ซวิค
วิสาข์ จัติวัตร์
สุนีตา โฆษิตชัยวัฒน์
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนอ่านออนไลน์ 2) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบการสอนอ่านออนไลน์ โดย 2.1 เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออนไลน์ 2.2 ศึกษาการใช้กลวิธีอภิปัญญา 2.3 ศึกษาการใช้กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ 2.4 ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้และ 3) รับรองรูปแบบการสอนอ่านออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชั้นปีที่ 1 จำนวน 65 คน การทดลองใช้เวลา 16 สัปดาห์ หรือ 32 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบและเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ 8 แผนการเรียนและแบบฝึก 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านออนไลน์ 3) แบบสำรวจการอ่านออนไลน์ 4) สมุดบันทึกการอ่านและ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนอ่านออนไลน์ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติและตรวจสอบ และการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 คน ด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพ 75.88/76.23 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 75/75 2) ประสิทธิผลรูปแบบการสอนอ่านออนไลน์พบว่า 2.1 คะแนนความสามารถในการอ่านออนไลน์ของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 กลวิธีอภิปัญญาที่นักศึกษาใช้มากที่สุด คือรู้ความแตกต่างระหว่างใจความสำคัญและรายละเอียดที่สนับสนุนใจความสำคัญ 2.3 กลวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ที่นักศึกษาใช้มากที่สุด คือ พจนานุกรมออนไลน์ 2.4 นักศึกษามีความพึงพอใจอย่างมากกับกิจกรรมที่หลากหลาย เกิดกระบวนการการคิด และการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) รูปแบบการสอนอ่านออนไลน์ได้รับการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน พบว่า รูปแบบมีความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี มีความเป็นไปได้และมีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฐฐิรา ปุยะกุล ซวิค, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นักศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน สาขาวิชาการสอนภาษาต่างประเทศ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิสาข์ จัติวัตร์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน
อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
รหัสไปรษณีย์ 73000

สุนีตา โฆษิตชัยวัฒน์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน
อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
รหัสไปรษณีย์ 73000

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน
อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
รหัสไปรษณีย์ 73000

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ, พรทิพย์ อ้นเกษม, สุพัฒน์ เศรษฐคมกุล, ประภาพร ชนะจีนะศักดิ์, ธิดารัตน์ อธิปัญจพงษ์, เกษมพัฒน์

พูลสวัสดิ์, ปิยะนันต์ ต่อแสงธรรม. (2561). การพัฒนาชุดการเรียนรู้นวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลสาวชะโงก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและประสบการณ์อภิปัญญาบูรณาการกับการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(2), 18-29.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

Central Intelligence Agency. (2014). The CIA world factbook 2015. Canada: Skyhorse Publishing, Inc.

Cummins, J. (1991). Interdependence of first-and second-language proficiency in bilingual

children. In E. Bialystok (Ed.), Language processing in bilingual children (pp. 70–89). New York: Cambridge University Press.

Dick, W., Carey, L., & Carey, J. O. (2005). The systematic design of instruction. (6th ed.). USA: Pearson.

Huffman, J. (2014). Reading rate gains during a one-semester extensive reading course. Reading in a Foreign Language, 26(2), 17-33.

Kim, H.-I., & Cha, K.-A. (2015). Korean learners’ metacognition in reading using think-aloud

procedures with a focus on regulation of cognition. English Language Teaching, 8(6), 178-193.

Kruse, K. (2002). Introduction to instructional design and the ADDIE model. Retrieved January 18, 2018, from https://pdfs.semanticscholar.org/9dde/73651c087216677 a930f1f5c2df02de6a5f9.pdf