ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์

Main Article Content

วีระพันธ์ เจริญลิขิตกวิน
นิพัทธา ชัยกิจ

บทคัดย่อ

            ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์เป็นเป้าหมายของการสอนวิทยาศาสตร์ ดังนั้นการผลิตครูวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ครูมีความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ครูวิทยาศาสตร์สามารถสอนวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนจนเกิดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ แต่ในกระบวนการผลิตครูวิทยาศาสตร์นั้นมักไม่ปรากฏการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการผลิตครูวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันสามารถผลิตครูวิทยาศาสตร์ที่มีความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่ การวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายที่จะสำรวจความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการปรับปรุงการผลิตครูวิทยาศาสตร์ต่อไป การวิจัยนี้เก็บข้อมูลด้วยแบบสำรวจความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่ผสมผสานทั้งข้อสอบปรนัยและอัตนัยจำนวน 13 ข้อประกอบด้วยด้านการอธิบายปรากฏการณ์เชิงวิทยาศาสตร์ ด้านการประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และด้านการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาครูระดับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไปจำนวน 199 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปอร์เซ็นไปล์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์สรุปอุปนัย


ผลการวิจัยพบว่า 1)ในภาพรวมนักศึกษาชั้นปีที่สูงขึ้นจะมีความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์สูงขึ้นด้วย แต่ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาวิชาชีพครูวิทยาศาสตร์เพศชายจะสูงกว่าเพศหญิงเล็กน้อย 2)นักศึกษาเรียนในชั้นปีที่ 4 จะมีความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ด้านการอธิบายปรากฏการณ์เชิงวิทยาศาสตร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างเด่นชัด และ3)นักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ชั้นปี 1 มีจำนวนนักศึกษาที่มีผลความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ต่ำจำนวนมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

โครงการ PISA ประเทศไทย. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์

ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. Retrieved from กรุงเทพฯ:

โครงการ PISA ประเทศไทย สถานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). กรอบโครงสร้างการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2009. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

ณิชัชฌา อาโยวงศ์. (2014). การประเมินการรู้วิทยาศาสตร์ [SCIENTIFIC LITERACY] กับการประเมินสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของ PISA. วารสาร สควค., 16.

ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2560). ปฏิรูปการศึกษา มองเห็นฝั่งหรือยัง. ไทยรัฐ.

พัทยา สายหู. (2531). การศึกษา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน (Vol. 12). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน.

ลือชา ลดาชาติ, & โชคชัย ยืนยง. (2558-2559). สิ่งที่ครูวิทยาศาสตร์ไทยควรเรียนรู้จาก โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(2), 108-137.

วิทยากร เชียงกูล. (2553). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2551/2552 บทบาทการศึกษากับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม. Retrieved from กรุงเทพฯ:

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2016). เกี่ยวกับ PISA. Retrieved from https:// pisathailand.ipst.ac.th/about-pisa/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018. กระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์. Retrieved from https://pisathailand.ipst.ac.th/about-pisa/scientific-literacy/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน. (2559). การรู้เรื่องวิทยาศาสตร์. Retrieved from สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน:

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.