การสื่อสารภาษาไทยกับอัตลักษณ์ทางสังคมของนักศึกษาชาวจีน

Main Article Content

เทวากร คำสัตย์
ฉัตรวรัญช์ องคสิงห

บทคัดย่อ

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ทางสังคมของนักศึกษาชาวจีนที่ศึกษาภาษาไทยในมหาวิทยาลัยสาธารณรัฐประชาชนจีน 2) ศึกษาเพศสภาพของนักศึกษาชาวจีนที่ศึกษาภาษาไทยในมหาวิทยาลัยสาธารณรัฐประชาชนจีนและ 3) ศึกษาแนวทางการเลื่อนชั้นทางสังคมผ่านภาษาไทยของนักศึกษาจีน


            ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชาวจีนที่ศึกษาภาษาไทยในมหาวิทยาลัยสาธารณรัฐประชาชนจีนได้สะท้อนลักษณ์ทางสังคมดังนี้ 1) อัตลักษณ์ทางภาษา อัตลักษณ์ใหม่ตัวตนใหม่ 2) การเลื่อนชั้นทางสังคม 3) ความเสรีของเพศสภาพ  4) ความได้เปรียบทางการค้าผ่านภาษา ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงเพ่งเล็งไปที่อัตลักษณ์ของนักศึกษาชาวจีนที่ศึกษาภาษาไทยและได้สวมทับเข้าเป็นอัตลักษณ์ของตน การใช้อัตลักษณ์ทางภาษาเป็นตัวสนับสนุนการเลื่อนชนชั้นทางสังคมเป็นสิ่งที่งานวิจัยฉบับนี้ให้ความสนใจในการศึกษา ขณะเดียวกันประเด็นร่วมทางวัฒนธรรมเช่นภาวะของเพศสภาพ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดควบคู่และคู่ขนานไปกับความได้เปรียบทางการค้า ส่งเสริมให้อัตลักษณ์ของนักศึกษาจีนที่มาเรียนภาษาไทยมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เทวากร คำสัตย์, วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

นักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ฉัตรวรัญช์ องคสิงห, วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ผศ.ดร.หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2553). [ระบบออนไลน์]. สืบค้น 20 ตุลาคม 2561.จาก https://www.thairath.co.th/content/58036.

จินตนา พุทธเมตะ. (2560). ปรับหลักสูตรการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างผู้เรียนเป็นบัณฑิตมืออาชีพ สัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ “พลวัตและพัฒนาการการเรียนการสอนภาษาไทยในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก” (น.11-20 ). กวางโจวสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2545). แนวคิดในการศึกษาอัตลักษณ์ความเป็นไทในการศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นท์ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ฉง หลาน. (2555). อัตลักษณ์ของนักศึกษาชาวจีนที่ศึกษาในประเทศไทย : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (การศึกษาภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง). สมุทรปราการฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

วัชรพล วิบูลยศริน .(2559). การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

นรชาติ วัง. (2560). THAILAND ในมุมมองของคนจีน. [ระบบออนไลน์]. สืบค้น 20 ตุลาคม 2561. จาก http://www.crossboxs.com/posts/ajwang-mae-fah-laung. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

รุ่งฤดี แผลงศร. (2560). ศาสตร์การสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฟู่ เจิงโหย่ว. (2544). การเรียนการสอนภาษาไทยในมุมมองจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ใน : สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย,กองวิเทศสัมพันธ์, การสัมมนาระดับภูมิภาคว่าด้วยการเรียนการสอนภาษาไทยในบริบทไทยศึกษา. (น.53-56). กรุงเทพฯ.

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2558). การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเชื่อของชุมชนเกาะยอ. วารสารปาริชาติ. 28 (3), 82-103.

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2546). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับการเมืองของการเปลี่ยนแปลงของสังคมเกษตรและขบวนการชาวนาในสังคมไทยปัจจุบัน : ข้อสังเกตเชิงวิพากษ์. ฟ้าเดียวกัน. 1 (มกราคม-เมษายน). 52-89.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ (Identity) การทบทวนทฤษฎี และกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์และคณะ. (2558). กระดานโดดทางสังคม : คะแนนสถานภาพอาชีพนายหน้าแรงงานไทย.ขอนแก่น : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

หลอ อี้หยวน.(2562,21 กุมภาพันธ์) รองศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาภาษาไทยและรองศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตมหาบัณฑิตสาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศกวางตุ้ง. [สัมภาษณ์ ].

Hatem Seyyed. (2007). Teaching and Learning Vocabulary : What English Language Learners Perceive to Be Effective and Ineffective Strategies. MA in Applied Linguistics from Urmia University : Iran.

Mc Call. (1987). Occupation Matching : A Test of Sorts. Journal of Economic. p.98.Stuart Hall. (1994). Representation: Cultural Representations and Signifying Practices. London : Sage.