การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อลดอคติทางชาติพันธุ์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

พันธ์นุพงษ์ วงวาน
พรใจ ลี่ทองอิน
วรวุฒิ สุภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อลดอคติทางชาติพันธุ์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างคู่มือการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อลดอคติทางชาติพันธุ์ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก 3 กลุ่ม จำนวน 23 คน คือ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ นักการศึกษาด้านสังคมศึกษาและครูสังคมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่าคู่มือประกอบด้วย ภาคที่ 1 ปัญหาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในโรงเรียน ภาคที่ 2 การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่การลดอคติทางชาติพันธุ์ และภาคที่ 3 กิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่การลดอคติทางชาติพันธุ์


     ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพคู่มือการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อลดอคติทาง  ชาติพันธุ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลดอคติทางชาติพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศึกษา พบว่าคู่มือมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 แปลผลได้ว่าคู่มือมีคุณภาพและนำไปใช้จัดการเรียนรู้ได้


     ระยะที่ 3 การสำรวจความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาที่มีต่อคู่มือการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อลดอคติทางชาติพันธุ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูสังคมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1-42 จำนวน 439 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐานคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่าคู่มือมีค่าเฉลี่ย 3.29 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60 แปลผลได้ว่าคู่มืออยู่ในระดับเหมาะสมมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พันธ์นุพงษ์ วงวาน, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ (สังคมศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

พรใจ ลี่ทองอิน, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประธานกรรมการที่ปรึกษาปริญญานิพน์)

114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

วรวุฒิ สุภาพ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (กรรมการที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์)

114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

 

 

References

กษมา จิตร์ภิรมย์ศรี. (2558). สันติภาพศึกษา: บทบาทและกระบวนการมีส่วนร่วมในการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(1), 53-76.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2557). ปฏิรูปประวัติศาสตร์ไม่พอ เห็นจะต้องปฏิวัติ. สืบค้น 12 เมษายน 2560, จาก https://ilaw.or.th/node/3321

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2558). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย: แนวทางสู่ความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

โชตรัศมิ์ จันทร์สุคนธ์. (2551). วิชาสังคมศึกษา: ศาสตร์แห่งการบูรณาการ. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 9(1), 16-23.

เดชา ตั้งสีฟ้า. (2551). อ่านคู่มือข้าราชการเขียนพื้นที่วัฒนธรรม: วาทกรรมวัฒนธรรมของรัฐไทยกับพื้นที่ในระหว่างไทย-มาเลเซีย ใน แผ่นดินจินตนาการ (หน้า 282-341). กรุงเทพฯ: มติชน.

ทิศนา แขมมณี. (2551). การเขียนหนังสือคู่มือ: คู่มือครู คู่มือทั่วไป แบบฝึกปฏิบัติและแบบฝึกหัด ใน เทคนิคการเขียนและผลิตตำรา (หน้า 164-180). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย วินิจจะกูล. (2556). กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ (พวงทอง ภวัครพันธุ์, ไอดา อรุณวงศ์ และพงษ์เลิศ พงษ์วนานต์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: อ่าน.

นงเยาว์ เนาวรัตน์. (2561). การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และปฏิบัติการในโรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

นิธิ เอียวศรีวงษ์. (2549). ประวัติศาสตร์แห่งชาติ ซ่อมฉบับเก่า สร้างฉบับใหม่. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล. (2556). เทคนิคการสอนและการใช้นวัตกรรมการสอนประวัติศาสตร์ ใน ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรมและการศึกษา รวมบทความไทยศึกษาเพื่อระลึกถึงศาสตราจารย์อิฌิอิ โยเนะโอะ (หน้า 321-349). กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

ยศ สันตสมบัติ. (2551). อำนาจ พื้นที่และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส. เจริญการพิมพ์.

วิลุบล สินธุมาลย์. (2554). การรับรู้ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ลาว: ผ่านแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทยและลาว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ค.ศ.1975-2009) (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2559). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2558). การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่: ประวัติศาสตร์สังคมไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2562). จำนวนข้าราชการครูที่มีวุฒิการศึกษาสายสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ภารกิจนโยบายและบริหารงานบุคคล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2504). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2503 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กองเผยแพร่การศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2554). การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุนทรี โคมิน. (2556). เจตคติกับพฤติกรรมมนุษย์ ใน เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาทั่วไป หน่วยที่ 8-15 (หน้า 382-440). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุเนตร ชุตินธรานนท์, รัตนพร พวงพัฒน์, นิตยาภรณ์ พรมปัญญา, มาโนช พรหมปัญโญ, กรกิต ชุ่มกรานต์, ธิบดี บัวคำศรี และชปา จิตต์ประทุม. (2557). ชาตินิยมในแบบเรียนไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มติชน.

สุมาลี สังข์ศรี. (2553). การเขียนคู่มือ ใน การเขียนผลงานวิชาการและบทความ (หน้า 234-248). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สุรไกร นันทบุรมย์. (2556). ผลของการใช้กิจกรรมลดอคติตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมศึกษาที่มีต่อความเข้าใจในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล รุ่งเจริญ (บ.ก.). (2540). อารยธรรมสมัยใหม่–ปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

อรรถพล อนันตวรสกุล. (2560). ปัญหาการศึกษาไทยมองให้ไกลกว่า คสช. สืบค้น 25 ตุลาคม 2560, จาก https://prachatai.com/journal/2014/07/54405

Banks, James A. (2008). An Introduction Multicultural Education. Boston: Pearson Education.

Timmins, G., Vernon, K., & Kinealy, C. (2005). Teaching and Learning History. London: SAGE Publications.