การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูพลศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

บุณยทรรศน์ หมื่นละม้าย
ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม
ณัชชา มหปุญญานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูพลศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้           2) ตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูพลศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ3) ทดลองใช้และกำหนดองค์ประกอบของตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูพลศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูพลศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรที่ผลิตครูพลศึกษาและครูพลศึกษาที่อยู่ในเขตชายแดนใต้ ซึ่งมีความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์ เกี่ยวกับสมรรถนะด้านพลศึกษา จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามการทบทวนเหตุการณ์วิกฤติ (Critical Incident Technique) จำนวน 1 ฉบับ เป็นคำถามแบบปลายเปิด จำนวน 4 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มประเด็นเหตุการณ์ที่สอดคล้องกันเป็นร้อยละและใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) 2) ตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้ด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูพลศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มเป้าหมายเป็นครูพลศึกษาที่อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ในด้านพลศึกษา ในจำนวน 3 จังหวัด คือจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา จำนวน 115 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามสำหรับการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้ครูพลศึกษาที่อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย โดยมีเกณฑ์ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยใช้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.50 ถือว่าผ่านเกณฑ์ 3) กำหนดองค์ประกอบตัวบ่งชี้สำหรับประเมินสมรรถนะครูพลศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรเป็นนักเรียนในโรงเรียนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 28,095 คน ในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างสุ่มมา จากประชากร โดยวิธีการสุ่มกลุ่มหลายขั้นตอน (Multistage Cluster Random Sampling Selection) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 420 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบประเมินเพื่อกำหนดองค์ประกอบตัวบ่งชี้สมรรถนะครูพลศึกษาที่อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดองค์ประกอบของตัวบ่งชี้โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ส่วนประกอบสำคัญ (Principal Component Analysis)


         ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการกำหนดตัวบ่งชี้สมรรถนะครูพลศึกษาที่อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการใช้เทคนิคการทบทวนเหตุการณ์วิกฤติเกี่ยวกับสมรรถนะของครูพลศึกษาที่อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ตัวบ่งชี้ จำนวน 39 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูพลศึกษาที่อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้านความเหมาะสม ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมระหว่าง 4.33 – 4.77 และค่าเฉลี่ยความเป็นไปได้ระหว่าง 4.10 - 4.48 สำหรับด้านความเหมาะสมของตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูพลศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.53 และด้านความเป็นไปได้ของตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูพลศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 4.28 และ  3) การกำหนดองค์ประกอบของตัวบ่งชี้สมรรถนะครูพลศึกษาที่อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ดำเนินการหลังจากที่ได้คุณภาพของตัวบ่งชี้ สมรรถนะครูพลศึกษาที่อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 องค์ประกอบด้านความรู้ในการจัดการเรียนการสอนทางพลศึกษาและกีฬา องค์ประกอบที่ 2 องค์ประกอบด้านบุคลิกภาพและความสามารถทางพลศึกษาและกีฬา องค์ประกอบที่ 3 องค์ประกอบด้านความมุ่งมั่นตั้งใจและจริยธรรมทาง   พลศึกษาและกีฬา องค์ประกอบที่ 4 องค์ประกอบด้านอุดมการณ์วิชาชีพครู องค์ประกอบที่ 5 องค์ประกอบด้านความเป็นผู้นำและการยอมรับผู้อื่น องค์ประกอบที่ 6 องค์ประกอบด้านความพอเพียงและจิตสาธารณะ องค์ประกอบที่ 7 องค์ประกอบด้านการสร้างความสัมพันธ์ในสังคม  พหุวัฒนธรรม และองค์ประกอบที่ 8 องค์ประกอบด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

บุณยทรรศน์ หมื่นละม้าย, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

นิสิตระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

เลขที่ 140 ถ.กาญจนวนิช ม.4 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000 โทร 0-7431-7600

ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อาจารย์ ดร.สาขาวิชาการประเมินผลและวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

เลขที่ 140 ถ.กาญจนวนิช ม.4 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000 โทร 0-7431-7600

ณัชชา มหปุญญานนท์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการวิจัยและประเมิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

เลขที่ 140 ถ.กาญจนวนิช ม.4 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000 โทร 0-7431-7600

References

กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2550). การจัดการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: มุมมองจากนักปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2555, จาก, http://www.Nidambe11.net.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติ่ม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). แผนพัฒนาการศึกษาชายแดนภาคใต้ของ กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

คอดารียะห์ เสกเมธี. (2550). การศึกษาเทคนิคการจัดการเรียนการสอนของครู : กรณีศึกษาครูที่ได้รับรางวัลพระราชทานในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดปัตตานี. ปัตตานี : วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

จงรัก พลาศัย. (2552). การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านกลไกการพัฒนามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2561, จาก, http :.//journal. pnu.ac.th/ojs/index.php/pnujr/article/view/1.

จิตติการ ชัยภักดี และทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ .(2560). “แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา,” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (1), 155-170.

ชัยลิต สร้อยเพชรเกษม. (2550). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา :งานวิจัยงบประมาณเงินรายได้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ .(2560). “การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน,” วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (2), 13-42.

ฐิติพงษ์ ตรีศร. (2552). สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3.ลพบุรี : วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

นงค์ณภัส ปาแก้ว. (2556). “การนำสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาของครูประถมศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา,” วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 10 (2), 397-406.

บรรจง ฟ้ารุ่งสาง. (2550). “ประมวลองค์ความรู้ในพหุวัฒนธรรมศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 18 (2), 19-43.

มักตา จะปะกิยา. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะครูสามัญในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. ปัตตานี : วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

พิพัฒน์ ตันวิบูลย์วงศ์. (2557). คุณลักษณะที่เป็นจริงและที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา ครูพลศึกษา และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2555). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ภัธวัน สินฉิม. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3.สงขลา : วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มงคล แว่นไธสง. (2546). การออกกำลังกายแบบแอโรบิก. กรุงเทพฯ : แม็ค.

มัชฌิมา คำสุวรรณ และสาโรจน์ สิงห์ชม. (2561). “คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามความต้องการของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 2,” วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา. 10 (1), 249-268.

รจรินทร์ ผลนา และศิริพันธ์ ติยะวงศ์สุวรรณ. (2559). “การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7,” วารสารราชพฤกษ์. 14 (3), 100-110.

ราชกิจจานุเบกษา.(2546).พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2563,จาก, //www.sesao30.go.th/module/view.php?document=4.%20 พรบ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา%20พ.ศ.%202546.pdf.

ราชกิจจานุเบกษา.(2556). ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพ ของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

ลัดดาวัลย์ สืบจิต สมเจตน์ ภูศรี และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2556). “การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,” วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8 (4), 142-149.

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2549). พหุวัฒนธรรมกับการศึกษา ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : กรณีศึกษาปอเนาะ. กรุงเทพฯ : ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์การพิมพ์.

สัจกาณฑ์ คเชนทร์พนาไพร,สุธาสินี แสงมุกดา และสัมฤทธิ์ กางเพ็ง.(2560). “ตัวบ่งชี้จรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร,” ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.1 (3), 34-38.

อดิศักดิ์ นวลสิงห์ ปรีชา คัมภีรปกรณ์ ไชยา ภาวะบุตร และวิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์. (2560). “รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของครูพลศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,” วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัย ขอนแก่น. 14 (1), 50-55.

อนันต์ มาลารัตน์ สฤษเดช แซมมณี และภาคภูมิ รัตนโรจรากุล. (2560). “ตัวชี้วัดและเกณฑ์สมรรถนะสำหรับครูพลศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้,” วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา. 9 (3), 135-145.

อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ดินอะ. (2550). แนวทางการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อชุมชนอย่างยั่งยืน (ท่ามกลางสถานการณ์ความใม่สงบ).สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2554, จาก, http : //www.oknation.net/blog/print.php?id=112336.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2550). “มาตรฐานวิชาชีพครูสุขศึกษาและพลศึกษา,” วารสารครุศาสตร์. 35 (4), 57-63.

Aamodt, M.G.(1999). Applied Industrial/Organizational Psychology. (3rded). Paciffic Grove: Brooks / Cole.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. (7th ed.). New Jersey : Pearson Education Inc.

Schaeffer, J.A. (1992). “Effective parent involvement in secondary schools of texas identified as exemplary 1982-1989,” Dissertation Abstracts International. 53(6),1757.