รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตที่มีประสิทธิผลสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Main Article Content

ตระกูลพันธ์ ยุชมภู
โสภา อำนวยรัตน์
สันติ บูรณะชาติ
น้ำฝน กันมา

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารโรงเรียนสาธิตที่มีประสิทธิผล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 2) สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตที่มีประสิทธิผล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตที่มีประสิทธิผล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารโรงเรียนสาธิตที่มีประสิทธิผล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยการสัมภาษณ์กลุ่ม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 9 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตที่มีประสิทธิผล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 18 คน และขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตที่มีประสิทธิผล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวน 36 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


               ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและแนวทางการบริหารโรงเรียนสาธิตที่มีประสิทธิผล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีจำนวน 3 ด้าน 16 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ สภาพแวดล้อม ลักษณะองค์การ การบริหารจัดการ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร บุคลากร และเครือข่ายร่วมพัฒนา ด้านกระบวนการ ได้แก่ การกำหนดนโยบาย การวางแผนกลยุทธ์ การนำองค์การ การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมุ่งเน้นบุคลากร การมุ่งเน้นการปฏิบัติ การวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้ และการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านผลผลิต ได้แก่ ด้านผู้เรียน และด้านหลักสูตรและการสอน 2) รูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตที่มีประสิทธิผล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่มีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด (  = 4.55, S.D. = 0.56) และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนสาธิตที่มีประสิทธิผล สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.63, S.D. = 0.61) และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.69, S.D. = 0.55)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ตระกูลพันธ์ ยุชมภู, วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

นิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

19 ซอย 10 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง พะเยา 56000

โสภา อำนวยรัตน์, วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

19 หมู่ 2 ซอย 6 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา พะเยา 56000

สันติ บูรณะชาติ, วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

19 หมู่ 2 ซอย 6 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา พะเยา 56000

น้ำฝน กันมา, วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

19 หมู่ 2 ซอย 6 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา พะเยา 56000

References

กีรติ ยศยิ่งยง. (2550). การจัดการความรู้ในองค์การและกรณีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์. หน้า 72.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2553). โรงเรียนสาธิตที่แท้ : การจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(1), 71-93.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

มงคลทิพย์ รุ่งงามเลิศ. (2556). 22 บุคคลสำคัญของไทยที่โลกยกย่อง. กรุงเทพฯ : เพื่อนเรียนเด็กไทย.

วสันต์ นาวเหนียว. (2550). แนวทางการจัดการที่เป็นเลิศของโรงเรียนเร่งสู่ฝัน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

วิเชียร เย็นกาย. (2554). ศึกษาองค์ประกอบในการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อคุณภาพผู้เรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 25(77), 19-31.

ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2554). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(6), 22.

ศักดิ์นิพน สว่างวงศ์. (2557). เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 14(2), 12.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากลฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ.

สุขคะเสริม สิทธิเดช. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดแผนกศึกษาธิการแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยบูรพา, 1(9), 96-105.

สุภัทร พันธ์พัฒนกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 5(2). 172

อมรรัตน์ เชิงหอม. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาทีส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อโณทัย ไทยวรรณศรี. (2561). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการมีส่วนร่วมระหว่างบ้านและโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 211.

อาคม อึ่งพวง. (2551). ข้อเสนอเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง). ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Eisner, E. (1976). Education connoisseurship and criticism : Their form and functions in Educational evaluation, Journal of Aesthetic Education. 96.

Hoy and Miskel. (2001). Educational Administration : Theory, Research and Practice. (6). Mc Graw : Hill International Edition 2001.

Klamen David and Others. (2018). Definition and Characteristics of Academic Excellence [online]. http://www.iun.edu/… and… Excellence.

Terry, R.G. (1977). Principles of Management. (7). Hoomewood : Richard D Irwin.