องค์ประกอบและแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

จีรัชญ์พัฒน์ ใจเมือง
สันติ บูรณะชาติ
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย
สมบัติ นพรัก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในการศึกษาองค์ประกอบทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 320 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ การศึกษาพหุกรณีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีวิธีการปฏิบัติที่ดีเลิศในการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Best Practice) จำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการบริหารเพื่อพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา


ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบด้านทีมร่วมแรงร่วมใจมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการสร้างภาวะผู้นำร่วมด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ด้านการสร้างชุมชนกัลยาณมิตร  และด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตามลำดับ  และแนวทางการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประกอบด้วย 3 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอน การวางแผน ขั้นตอนการนำสู่การปฏิบัติ และขั้นตอนการประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จีรัชญ์พัฒน์ ใจเมือง, วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

นิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

19 ซอย 10 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง พะเยา 56000

สันติ บูรณะชาติ, วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

19 ซอย 10 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง พะเยา 56000

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย, วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

19 ซอย 10 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง พะเยา 56000

สมบัติ นพรัก, วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

19 ซอย 10 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง พะเยา 56000

References

กรองกาญจน์ นาแพร่. (2560). การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 1, 10.

คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. (2559). รายงานของสภาขับเคลื่อน การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เรื่องการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพมหานคร : สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ.

ฐาปณัฐ อุดมศรี. (2558). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย)

ณรงค์ ขุ้มทอง. (2560). “PLC มิติใหม่ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการศึกษาไทย”มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562 จาก https://2www.me/Zk7WG.

บุญชอบ จันทาพูน. (2561) กลยุทธ์การเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียน เทศบาล 1 ต้นยาง จังหวัดเชียงราย. (ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

ปภาวี พิพัฒนลักษณ์. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเรียนร่วมตามแนวคิด ภาวะผู้นำที่ยั่งยืนเพื่อเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ.(ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(2), 284-296.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2558). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา. (ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย.(ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยสงลานครินทร์)

วรลักษณ์ ชูกำเนิด และ เอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อการสื่อสารพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ, วารสารวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 25(1), 1-10

เวิคพอยด์ นิวส์. (2562,26ส.ค.). “โรงเรียนขนาดเล็ก ปัญหาเรื้อรังที่เกี่ยวพันกับเด็กไทยเกือบล้านล้านคน”. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2562 จาก https://2www.me/e9WOM.

ศยามน อินสะอาด, ฐิติยา เนตรวงษ์ และ ศิวนิต อรรถวุฒิกุล. การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อสร้างชุมชนนักปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ไอซีทีของครู สังกัดสพฐ. ารสารวิชาการ Viridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 975-995.

สิวรี พิศุทธิ์สินธพ. (2554) รูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก.(วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต.,มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล,กรุงเทพฯ).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). เอกสารประกอบการระดมความคิดเห็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).

โสภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2558). กลยุทธ์การบริหารเพื่อเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูโรงเรียนเอกชน. (ดุษฎีนิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Andrews, D. and Lewis, M. (2007). Transforming practice from within: The power of The professional learning community. Maidenhead: Open University Press.

Bolam, R. et al. (2005). Creating and sustaining effective professional learning communities. Nottingham : DFES Publications.

Bryk, A., Camburn, E., and Louise, K.S. (1999). Professional learning in Chicago Elementary School: Facilitating Factor and Organizational Consequences, Educational Administration Quarterly. 35, 751-781.

Darling-Hammond Linda. (1999). Teacher quality and student achievement : A review of state policy evidence.Retrieved February 9,2013.

Fullan,M. (2005). Leadership and sustainability : System thinkers in action. Thousand Oaks :Sage Publications.

Harris, A. & Muijs, D. (2005). Improving Schools Through Teacher Leadership. Berkshire : Open University Press.

Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement.Texas : Southwest Educational Development Laborator.

Louis, K, Marks, H, Kruse, S. (1996). Teachers' Professional Community in Restructuring Schools. American Educational Research Journal. 33.

Newby, T. J., Stepich, D. A., Lehman, J. D., & Russell, J. D. (2000). Educational Technology for Teaching and Learning. 2nd edition. Upper Saddle River, NJ : Merrill/Prentice-Hall.

Scribner, J.P., Cockrell, K.S., Cockrell, H.D. and Valentine, J.W. (1999). Creating Professional Communities in Schools through Organizational Learning: An Evaluation of a School Improvement Process .Educational Administration Quarterly. 35 (1999): 129-160.

Senge,P.M. (1990). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York : Doubleday.

Stoll, L., Bolam, R., McMahon, A., Wallance, M. and Thomas, S. (2006). ProfessionalLearning Communities: A review of the literature. Journal of Education Change. 7: 221-258.

Supovitz, J.A. (2002). Developing communities of instructional practice. Teachers College Record.

Verbiest, E., Ansems, E., Bakx, A., Grootwagers, A., Heijmen-Versteegen, I., Jongen, T.,Uphoff, W. and Teurlings, C. (2005). Collective Learning in Schools: Building Collective Learning Capacity. REICE. Vol. 3 No. 1 (2005): 17-38.