การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ราชภัฏราชนครินทร์ โดยใช้กระบวนการชุมชนวิชาชีพแห่งการเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) 2) เปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ก่อนและหลังการฝึกอบรม 3) ศึกษาเจตคติต่อการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 4) พัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 16 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า
- แนวทางการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(Professional Learning Community : PLC) ด้วยชุดฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) ความเป็นมา 2) หลักการ 3) วัตถุประสงค์ของชุดฝึกอบรม 4) เนื้อหาสาระ 5) ระยะเวลาการฝึกอบรม 6) กิจกรรมการฝึกอบรม 7) สื่อการเรียนรู้ 8) การวัดผลและประเมินผล 9) แผนการจัดการเรียนรู้ในการฝึกอบรม และ 10) ตารางการฝึกอบรม โดยการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของชุดฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ชุดฝึกอบรมมีคุณภาพภาพในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .50
- กลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- กลุ่มตัวอย่าง มีเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาทักษะจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในระดับมากที่สุด
- กลุ่มทดลอง มีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมอยู่ในระดับดี
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กมลวรรณ ตังธนากานนท์. (2559). การวัดและการประเมินทักษะการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คุรุสภา. (2560, ออนไลน์). Professional Learning Community. วันที่สืบค้น 12 มกราคม 2561จาก https://www.youtube.com/watch?v=cwwclqnDvF8.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : อลินเพรส.
ชำนาญ โสดา. (2558). การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ดุจเดือน ไชยพิชิต. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียน ตำรวจตะเวนชายแดน ระดับประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2561) .
นพพร วิชาจารย์. (2553). การสร้างชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการ ดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).
นริสานันท์ เดชสุระ. (2557). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการจัดการเรียนรู้เพศศึกษารอบด้านสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: พี.เอ็น.การพิมพ์.
พจนีย์ มั่งคั่ง และคณะ. (2555). การยกระดับคุณภาพโรงเรียนสาธิตและโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างคุณภาพบัณฑิตครูยุคใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง กับ PLC เพื่อการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2543). จำเป็นต้องปฏิรังสรรค์การศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่งนภา จันทรา และอติญาณ์ ศรเกษ. (2560). ศึกษาทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎ์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. มกราคม-เมษายน 2560.4(1)
เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2559). กระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูด้านการออกแบบการเรียนรู้ผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโทสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
เลิศชาย ปานมุข. (2551). สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. วันที่สืบค้น 12 กันยายน 2561 แหล่งที่มา http://www.banprak_nfe.com.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). Power Point ประกอบการบรรยาย “การประมวลองค์ความรู้เพื่อวางแผนการพัฒนาโรงเรียนสาธิตสู่คุณภาพชั้นนำระดับโลก : อนาคตและทิศทาง”.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.