การพัฒนาแบบวัดความเป็นสากล (วัฒนธรรมสากล) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบวัดความเป็นสากล (วัฒนธรรมสากล) สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี โดยการหาคุณภาพ สร้างเกณฑ์ปกติและคู่มือการใช้โดยยึดหลักความเป็นสากล (วัฒนธรรมสากล) ที่ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ความเป็นประชาธิปไตย ความรับผิดชอบ ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน การเห็นประโยชน์ส่วนรวม พฤติกรรมการแสดงออกทางสังคม และการอยู่ร่วมกันและการทำงานร่วมกันของคนต่างวัฒนธรรม เป็นแบบวัดที่เป็นสถานการณ์ และมีตัวเลือก 5 ตัวเลือก มีคำตอบถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว ด้านละ 20 ข้อ รวมทั้งสิ้น จำนวน 120 ข้อ หาคุณภาพด้านรายข้อด้วย หาคุณภาพด้านความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหาโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พิจารณาหาความยากง่าย และอำนาจจำแนก โดยใช้สูตรอย่างง่าย ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยใช้สูตร สูตร KR-20 และหาเกณฑ์ปกติโดยใช้คะแนนที่ปกติ
ผลการวิจัยพบว่า
- แบบวัดความเป็นสากล ทั้ง 6 ด้าน มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง มีค่าตั้งแต่ 0.60-1.00 มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.23 - 0.65 มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.21 - 0.56 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.83
- เกณฑ์ปกติของแบบวัดความเป็นสากล มีคะแนนดิบ ตั้งแต่ 68-110 คะแนน และคะแนนที่ปกติ ตั้งแต่ T23 – T73
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
นิธิมา หงส์ขำ. (2549). การพัฒนาแบบประเมินทักษะชีวิตระดับประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ)
นิภา วงษ์สุรภินันท์ (2548). การสร้างแบบวัดคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียน สำหรับนักเรียนระดับช่วง ชั้นที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
สมนึก ภัทธิยธนี. (2558). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธ์ : ประสานการพิมพ์.
เสริม ทัศศรี. (2545). “การสร้างเกณฑ์ปกติโดยใช้วิธีกาลังสองต่ำสุด” เอกสารประกอบการสัมมนาการวิจัยทางการวัดและประเมินทางการศึกษา. สงขลา : ภาควิชาการประเมิน และวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Deutsch, M. (1975). Equity, equality, and need: What determines which value will be used as the basis of distributive justice? Journal of Social Issues, 31, 137-149.
Innes, Ev. And Straker. (2003). “Good” validity in Validity of work-Related assessment : Retrieved. June 23, 2003, from E.Inne@cchs.usyd.edu.au, http://home Earthlink.net/medtox/analysis.html.
Kabanoff, B. (1991). Equity, equality, power, and conflict. The Academy of Management Review, 16(2), 416-441.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3 rd ed. New York: Harper and Row