การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ศุภรัตน์ ภู่ดอก
ประกอบ ใจมั่น
หัสชัย สิทธิรักษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย  เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย  เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางทางการเรียน  แบบประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้  แบบสอบถามความเห็นของครู ผู้บริหารมีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้


 


ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)หลักการแนวคิดทฤษฎี 2) จุดประสงค์ของรูปแบบ 3)สาระการเรียนรู้ 4) ขั้นตอนการสอน 5) การวัดและประเมินผล        และขั้นตอนของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มี 5 ขั้นตอนคือ  ขั้นสร้างความสนใจ (Create interest:C)   ขั้นสำรวจปัญหา (Explore the problem : E) ขั้นสืบค้นความรู้ (Serching for knowledge:S) ขั้นลงข้อสรุป (Conclusion: C) และขั้นประเมินผล (Evaluation :E)

ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย  โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อนำไปทดลองนำร่องที่โรงเรียนฉลองรัฐราษฎร์อุทิศ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 39 คน  ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัยที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ กล่าวคือ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


  1. 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. 3. ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า

3.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  


3.2 นักเรียนมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  


3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับมาก


3.4 ครู ผู้บริหารมีความเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานวิจัย เพื่อสร้างเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก


คำสำคัญ  รูปแบบการจัดการเรียนรู้   โครงงานบนฐานวิจัย  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ประกอบ ใจมั่น, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

-

หัสชัย สิทธิรักษ์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

-

References

ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกสื่อที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. (2555). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2556). การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ทักษะในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนตรี วงษ์สะพาน. (2556). การยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 13 (2): 125-139.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล
.(2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง . กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จํากัด.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของ เยาวชน .พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2557) รอยจารึกบนเส้นทางเพาะพันธุ์ปัญญา. กรุงเทพฯ : สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณการเกษตร.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2557).รายงานการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบ เรื่อง การดำเนินงานด้านนโยบายการศึกษา ขององค์กรนโยบายการศึกษาระดับชาติในกลุ่มประเทศอาเซียนและอาเซียนบวกสาม. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.