การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล

Main Article Content

นำโชค บัวดวง
นภพร ทัศนัยนา
สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ
ประวิทย์ ทองไชย

บทคัดย่อ

การวิจัยแนวทางการสร้างแบบประเมินสมรรถนะผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเสนอแนวทางของรูปแบบเกณฑ์การประเมินสมรรถนะผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมในการนำสมรรถนะผู้ฝึกสอนฟุตบอลไปใช้ วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview) รูปแบบการประเมินสมรรถนะผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอลสำหรับประเทศไทย และประเมินความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้สมรรถนะผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอลสำหรับประเทศไทย โดยใช้เทคนิคสนทนากลุ่ม (Focus group) ที่ผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องของประเด็นคำถามกับวัตถุประสงค์ (Content Validity Index: CVI) มีค่า CVI ตั้งแต่ 0.8 ขึ้นไป จากนั้นนำผลที่ได้เพื่อนำมาปรับปรุงเป็นแนวทางการสร้างแบบประเมินสมรรถนะผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล ผลของการศึกษาพบว่า


          แนวทางการสร้างแบบประเมินสมรรถนะผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล ประกอบด้วย ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงาน มีความรู้เชี่ยวชาญในกีฬาฟุตบอล และต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา, ด้านการมุ่งเน้นความสำเร็จ กำหนดเป้าหมาย วางแผน วิเคราะห์ และประเมินผลนำมาใช้ในการฝึกซ้อมได้, ด้านการทำงานเป็นทีม กำหนดเป้าหมาย บทบาทและหน้าที่รับผิดชอบของทีมผู้ฝึกสอนอย่างชัดเจน, ด้านภาวะผู้นำ การกำหนดแนวทาง จูงใจนักกีฬา และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักกีฬา, ด้านความสามารถในการรับผิดชอบงาน มีการประชุม วางแผนปรับปรุงทีม โดยคำนึงประสิทธิภาพสูงสุดของทีม, ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม มีการยึดมั่นในหลักการจรรยาบรรณผู้ฝึกสอน และปฏิบัติตามกฎกติกา, ด้านการสื่อสาร มีการปรับปรุงทักษะด้านการสื่อสาร และด้านภาษาต่างประเทศเพื่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ด้านความคิดเชิงวิเคราะห์ มีการกำหนดเป้าหมาย และวางแผนขั้นตอนการฝึกซ้อม ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวเพื่อความสำเร็จของทีม, ด้านการสร้างความศรัทธา เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของการเป็นผู้ฝึกสอนที่ดี, ด้านความคิดริเริ่ม มีการศึกษาหาความรู้เทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในสาขาอาชีพของตนอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นภพร ทัศนัยนา, มหาวิทยาลัยบูรพา

-

สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ, มหาวิทยาลัยบูรพา

-

ประวิทย์ ทองไชย, มหาวิทยาลัยบูรพา

-

References

สนธยา สีละมาด. (2551). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวกีฬา กระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยว. (2559). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (2560–2564). โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา, โรงพิมพ์ชาเร็นการพิมพ์.

กลุ่มส่งเสริมมาตรฐานบุคลากรการกีฬา สถานบันพัฒนาบุคลากรการพลศึกษาและการกีฬา กรมพลศึกษา. (2560). ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมมาตรฐานผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ตัดสินกีฬา.

สภาปฏิรูปและพัฒนากีฬาฟุตบอลแห่งชาติ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). แผนแม่บทพัฒนาฟุตบอลแห่งชาติระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2560-2579).

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2550). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency Based HRM (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

Lyle M. Spencer, Jr., & Signe M. Spencer. (1993). Competency at work. New York: Wiley.

ปิยะชัย จันทรวงศ์ไพศาล. (2549). การค้นหาและวิเคราะห์เจาะลึก Competency ภาคปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

IFTF (2011). Future Work Skills. Institute for the Future for University of Phoenix Research Institute. California. Retrieved February 17, 2014 from https://cdn.theatlantic.com/static/front/docs/sponsored/phoenix/future_work_ skills_2020.pdf

Davidz, H.L., & Nightingale, D.J. (2008). Enabling systems thinking to accelerate the development of senior systems engineers. INCOSE Journal of Systems Engineering, vol. 11, no. 1, pp. 1-14.

Rothwell, W.J., & Graber, J.M. (2010). Competency-based training basics. The United State of America: Versa Press Inc.

ประมา ศาสตระรุจิ. (2550). การพัฒนาเกณฑ์สมรรถนะในการประเมนผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

NASA (2009). Systems engineering competencies. Retrieved June 24, 2011 from: https:// www.nasa.gov/pdf/303747main_Systems_Engineering_Competencies.pdf

Zhu, W., Chew, K.H., & Spangler, W.D. (2005). CEO transformational leadership and organizational outcomes: The mediating role of human-capital-enhancing human resource management. The Leadership Quarterly, 16(2005), 39-52.

Goleman, D., Boyatzis, R.E., & McKee, A. (2003). The New Leaders: Transforming the art of leadership into the science of results. Great Britain: Clays Ltd, St Ives plc.

Miller, L. M. (2003). Qualitative Investigation of Intercollegiate Coaches’ Perceptions of Altruistic Leadership. PhD. The Ohio State University.

นกุล โสตถิพันธุ์. (2549). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชอุดมศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2549). Competency based approach. กรุงเทพฯ: กราฟิโกซิสเต็มส์.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552 ข 29 กันยายน). มาตรฐานและแนวทางการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสาหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ. นร 1008/ว 27

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2551). คู่มือการฝึกสอนวอลเลย์บอลชายหาด. กรุงเทพฯ: ไอเดีย สแควร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. ข้อมูล พื้นฐานด้านสภาพเศรษฐกิจและสังคม. กรมทรัพยากรน้ำ. กรุงเทพฯ.

อุษณา ภาณุเมศ. (2554). สมรรถนะสำหรับผู้ฝึกสอนกรีฑา. กรุงเทพฯ: สมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชาลี ไตรจันทร์. (2551). การกำหนดและประเมินสมรรถนะบุคลากรภาครัฐที่เหมาะสมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. เข้าถึงได้จาก https://kb.psu.ac.th/ psukb/bitstream/2553/4941/2/294256.pdf

วิจารณ์ พานิช. (2556). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. กรุงเทพฯ: แฮพเพนนิ่ง.

Frank, M. (2012). Engineering Systems Thinking: Cognitive Competencies of Successful Systems Engineers. Procedia Computer Sciences, 8 (2012), 273–278. Retrieved
March 4, 2013 from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877050912000580

CARL (2010). Core Competencies For 21st Century CARL Librarians. Canadian Association of Research Libraries. Retrieved January 19, 2015 from https://carl-
abrc.ca/uploads/pdfs/core_comp_profile-e.pdf

Rothwell, W.J., & Graber, J.M. (2010). Competency-based training basics. The United State of America: Versa Press Inc.

มลิวัลย์ ผิวคราม. (2551). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถภาพทางวิชาชีพ สำหรับนักศึกษา. สาขาวิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การกีฬา สถาบันการพลศึกษา: โมเดลจาก 3 มุมมอง. สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร.

Petrova, E., Jansone, D. & Silkane V. (2014). The development and assessment of competencies in Vidzeme University of Applied Sciences. Procedia – Social and Behavioral
Sciences, 140, 241-245.

Bennie. A. (2009). Effective Coaching in Cricket, Rugby League and Rugby Union: A Qualitative Investigation Involving Professional Coaches and Players from Australia (Doctoral dissertation). University of Sydney. Australia.

Florida, R., Mellander, C., Stolarick, K. (2008) Inside the Black Box of Regional Development, Journal of Economic Geography, 8 (2008) pp. 615–649.

Schramm, J. (2006). HR technology competencies: New roles for HR professionals. The United State of America: Society for Human Resource Management.