รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, การอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยนี้ ประกอบด้วย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ 2) เพื่อประเมินทักษะการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนท่านครญาณวโรภาสอุทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 จำนวน 32 คน ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากการวิเคราะห์องค์ประกอบและขั้นตอนของ พบว่า มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ คือ 1) ทฤษฏี หลักการ แนวคิดของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหา 4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5) เทคนิควิธีการสอน 6) การวัดและประเมินผล ผลการวิเคราะห์ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น HAPPY MODEL มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน(Heavenly Stage) ขั้นที่2 ขั้นเรียนรู้ (ActiveLearning Stage) 3. ขั้นฝึก (Practice Stage) 4. ขั้นการจัดการความรู้และประมวลผล (Processing Stage) 5. ขั้นนำไปประยุกต์ใช้ด้วยตัวเอง (Yourself application Stage) ผลการประเมินการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปรากฎว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญที่ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย คะแนนเฉลี่ย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญที่ .05 ประสิทธิผลของรูปแบบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับมาก ครูผู้สอน ผู้บริหาร และผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นต่อ รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
Downloads
References
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พาณิช. (2554). การเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บริษัทตถาดา พับลิเคชั่น จำกัด.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2551). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบ 2 (พ.ศ. 2549-2553). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุดทอง.
Guskey, T, R. (2000). Evaluation professional development. California: A Sage Publication Company.
Mayer, B. (1997). The Org anization of Prose and Its Effects on Memory. Amsterdam North Holland.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์