การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบนฐานการคิดออกแบบเกมที่สร้างเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ องค์ประกอบของรูปแบบ ขั้นตอนและเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบนฐานการคิดออกแบบเกมที่สร้างเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบนฐานการคิดออกแบบเกมที่สร้างเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนรู้โดยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบนฐานการคิดออกแบบเกม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์ 1 ภาคเรียนที่ 2/2561 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาคอมพิวเตอร์ สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) แบบประเมินความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5) แบบสอบถามความเห็นของครู ผู้บริหารมีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบนฐานการคิดออกแบบเกมสร้างเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) นักเรียนมีความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานบนฐานการคิดออกแบบเกมสร้างเสริมความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับมาก
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
อรุนการพิมพ์
กระทรวงศึกษาธิการ(2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทยจำกัด
ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกสื่อที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วนิดา จึงประสิทธิ์. (2543) การบริหารและการบริหารงานโสตทัศนศึกษา. นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วิจารณ์ พานิช.(2556) วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร:
มูลนิธิสดศรี สฤษวงศ์
โสรัจจ์ หงส์ดลารมณ์. (2545). วิทยาศาสตร์ในสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ
Allen.L.E., Seaman, J.,&Garrett.R(2007) Blending In : The Extent and Promise of Blended
Education in the United States.Needham, MA : The Sloan Consortium
Kearsley, G., &Shneiderman, B. (1998). Engagement theory: A framework for
McLaughlin, J. E., et al. (2013). Pharmacy Student Engagement, Performance
and Perception in A Flipped Satellite Classroom. US National Library of
Medicine National Institutes of Health., 77(9), 196.