การพัฒนาระบบการนิเทศการปฏิบัติการสอน ในสถานศึกษาผ่านสื่อสังคม สำหรับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคใต้ของไทย: รายกรณี มหาวิทยาลัยทักษิณ

Main Article Content

ขรรค์ชัย แซ่แต้
พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ
ทิพย์เกสร บุญอำไพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาระบบการนิเทศการปฏิบัติการสอน
ในสถานศึกษาผ่านสื่อสังคม สำหรับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคใต้ของไทย: รายกรณี มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 4 ประการ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของระบบการนิเทศการปฏิบัติการสอน
ในสถานศึกษาผ่านสื่อสังคม สำหรับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคใต้ของไทย: รายกรณี มหาวิทยาลัยทักษิณ
2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบฯ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบฯ  และ 4) เพื่อรับรองระบบการนิเทศการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาผ่านสื่อสังคม สำหรับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคใต้
ของไทย: รายกรณี มหาวิทยาลัยทักษิณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน 2) อาจารย์นิเทศก์วิชาชีพครู จำนวน 8 คน 3) นิสิตฝึกสอน จำนวน 42 คน
4) ครูพี่เลี้ยง จำนวน 22 คน และ 5) ผู้ทรงคุณวุฒิรับรองระบบ จำนวน 5 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ต้นแบบระบบการนิเทศการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาผ่านสื่อสังคม สำหรับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคใต้ของไทย: รายกรณี มหาวิทยาลัยทักษิณ 2) คู่มือการนิเทศการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 3) แบบประเมินประสิทธิภาพระบบฯ โดยผู้ใช้ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบฯ และ 5) แบบประเมินรับรองระบบฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ


ผลการวิจัยพบว่า ระบบการนิเทศการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาผ่านสื่อสังคม สำหรับ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคใต้ของไทย: รายกรณีมหาวิทยาลัยทักษิณ มี 8 องค์ประกอบ คือ 1) สมาชิกและการจัดการ 2) ข้อมูล สารสนเทศเพื่อการ 3) กิจกรรมการนิเทศ 4) กระบวนการให้การนิเทศการปฏิบัติ
การสอนในสถานศึกษาผ่านสื่อสังคม 5) ผลการนิเทศ 6) ผลป้อนกลับ 7) สื่อสังคมและเทคโนโลยีสนับสนุน และ


8) คู่มือการใช้ระบบการนิเทศการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาผ่านสื่อสังคม การประเมินประสิทธิภาพระบบฯ


พบว่า ผลประเมินประสิทธิภาพระบบฯ โดยอาจารย์นิเทศก์วิชาชีพครู นิสิตฝึกสอน และครูพี่เลี้ยง อยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85, 3.96 และ 3.90 ตามลำดับ การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบฯ พบว่า อาจารย์นิเทศก์วิชาชีพครู นิสิตฝึกสอน และครูพี่เลี้ยงมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90, 4.95 และ 4.92 ตามลำดับ และการประเมินรับรองระบบฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ผลประเมินรับรองระบบฯ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.85)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. เข้าถึงได้จากhttps://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm#7
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2558). คู่มือการนิเทศการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี)
ประจำปีการศึกษา 2558. สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประทีป นานคงแนบและคณะ. (2554). รูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสม สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 22(3), 163-177.
ปราโมทย์ พรหมขันธ์ และ จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). พัฒนารูปแบบเครือข่ายกัลยาณมิตรนิเทศด้วยการใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 โดยการวัดและประเมินตามสภาพจริงเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารครุศาสตร์, 40(1), 115 -131.
พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร, 31(4), 99-103.
วรรณทิพา รอดแรงค้า และภาวิณี ศรีสุขวัฒนานันท์. (2551). การพัฒนารูปแบบ การจัดประสบการณ์วิชาชีพครู
วิทยาศาสตร์. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46
วันที่ 29 ม.ค. - 1 ก.พ. 2551 หน้า 47-55. กรุงเทพฯ.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). นิเทศการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครปฐม: ภาคหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
วิภาฤดี วิภาวิน และคณะ. (2549). รายงานการวิจัยสภาพการฝึกสอนของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2534). แนวปฏิบัติการนิเทศทางไกล. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2559). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ในประเทศไทย ปี 2559. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2556). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. เข้าถึงได้จาก www.educ.su.ac.th/images/curriculum/ขอบงคบครสภา_56.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก https://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1442-file.pdf
สุธาสินี บุญญาพิทักษ์. (2558). ประสบการณ์วิชาชีพครูนักวิจัยในชั้นเรียนและระบบนิเทศคู่มือนิเทศของผู้บริหาร อาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ นิสิตวิชาเอกการวัดผลและประเมินทางการศึกษา (กศ.บ. 4 ปี). สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Acheson, Keith A., & Gall, Meredith D. (2003). Clinical Supervision and Teacher Development Perservice Applications. New York: John Wiley & Sons, Inc.
Pauschenwein, J., Jandl, M., Riegler, A., & Vasold, G. (2006, September). How to use weblogs in eSupervision. In Proceedings of the 6th International Conference on Knowledge Management I-KNOW (Vol. 6).