การศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้: กรณีโรงเรียนในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ
พรทิพย์ อ้นเกษม
ดรัณภพ เพียรจัด
เกษมพัฒน์ พูลสวัสดิ์
ประภาพร ชนะจีนะศักดิ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาและโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ที่เหมาะสมของโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาและโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอ     บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนของโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาและโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 21 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น   42 คนผลการวิจัยปรากฎดังนี้
        1) ผลของกระบวนการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาและโรงเรียนที่เปิดสอนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกผลการศึกษาออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนก่อนดำเนินการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ 2) การบริหารจัดการเวลาเรียน 3) ลักษณะของกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และ 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์จากการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
        2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และปัจจัยสนับสนุนในการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ มี 5 ขั้น คือ ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจความรู้เดิม ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ ขั้นตอน ที่ 3 การวางแผนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการและกำกับตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ และ ขั้นตอนที่ 5 การสรุปองค์ความรู้ ทั้งนี้พบว่า ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คนพบว่า ทุกองค์ประกอบ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ และพบว่าความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของรูปแบบกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบกับการวัดและประเมินผล มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุดโดยผู้เชี่ยวชาญทุกคนมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พรทิพย์ อ้นเกษม, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

-

ดรัณภพ เพียรจัด, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

-

เกษมพัฒน์ พูลสวัสดิ์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

-

ประภาพร ชนะจีนะศักดิ์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

References

จุฑามาศ สุธาพจน. 2559. แนวทางการบริหารกิจกรรมการเรียนรู้ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุกัญญา งามบรรจง. 2559. การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2558. ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/permalink.Php?id=273, 16 เมษายน 2559.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2559. คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน ตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.

Keeves P.J. 1988. Educational research, methodology and measurement: An international handbook. Pergamon Press, Oxford.