รูปแบบการเรียนการสอนด้วยยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน : นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ยุทธศาสตร์สะท้อนอภิปัญญาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน อาศัยหลักการของแนวคิดทฤษฎีอภิปัญญา และการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน เป็นหลักการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน KWPML Plus Research Based Learning เป็นชื่อที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการสร้างความเข้าใจ การเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ตามความสนใจของตนเอง ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิด เกิดการตระหนักรู้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านการปฏิบัติจริง
มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจความรู้เดิม ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนดำเนินงานเพื่อสร้างความรู้ใหม่ ขั้นตอนที่ 4 การกำกับและตรวจสอบกระบวนการดำเนินงานตามแผน ขั้นตอนที่ 5 การสรุปองค์ความรู้ ขั้นตอนที่ 6 การวางแผนต่อยอดองค์ความรู้ด้วยการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การกำหนดหัวข้อโครงงานการวิจัยและเป้าหมายการเรียนรู้ 2) การวางแผนดำเนินโครงงานการวิจัยตามเป้าหมายการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 2.1) ระบุปัญหาการวิจัย 2.2) ตั้งสมมติฐานการวิจัย 2.3) วางแผนการพิสูจน์ทดสอบสมมติฐาน 2.4) เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 2.5) นำเสนอและประเมินผล 3) การดำเนินงานตามแผนโครงงานวิจัย และ 4) การสรุปองค์ความรู้และสะท้อนความคิด รูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะการวางแผน การสืบค้นข้อมูล การจัดการและนำเสนอข้อมูล การสรุปองค์ความรู้ การกำกับตนเองในการเรียนรู้ การตั้งคำถาม การเห็นประโยชน์ของการใช้ผลการวิจัย และการเห็นประโยชน์ของการใช้กระบวนการวิจัยซึ่งเป็นทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
ทิศนา แขมมณี (2540). การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : โครงการพัฒนาการเรียนการสอนสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2557) การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์. (2536). พัฒนาการทางพุทธิปัญญา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพมหานคร: สาฮะแอนด์ชันพริ้นติ้ง.
สมจิตร์ ทรัพย์อัประไมย. (2540). ผลของการใช้รูปแบบเพื่อพัฒนาเมตาคอกนิชันที่มีต่อเมตาคอกนิชันและสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. (จิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง,
Flavell, J.H. (1979). Metacognition and Cognitive Monitoring : A new Area of Cognitive Development Inquiry. American Psychologist. 34(10) : 906-911.
Flavell, J.H. (1985). Cognitive Development. Michigan :Prentice-Hall.
Forgarty, R. (1994). Teach for Metacognitive Reflection. Palatine, IL : IRL/ SkyLight Training and Publishing Inc.
Learning and Development Center, 2018. Research based Learning. (Online). Available : https://warwick.ac.uk/services/ldc/resource/rbl/whatis/ (2018, February 20)
Mile End Library, Queen Marry University of London. 2018. What is Research based Learning?. (Online).Available:
https://www.thinkingwriting.qmul.ac.uk/ideas/researchbasedapproach/learning.(2018, February 20)