การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะของนิสิตครูคุณภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Main Article Content

วรรณากร พรประเสริฐ
สำราญ มีแจ้ง
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนิสิตครูคุณภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 – 4
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 690 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 3 ข้อ ตอนที่ 2 คุณลักษณะของนิสิตครูคุณภาพ
จำนวน 69 ข้อ และตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.896 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
เชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลัก (Principal Components Analysis) และหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉาก (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) ซึ่งคำนวณโดยโปรแกรมสำเร็จรูป


ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบคุณลักษณะของนิสิตครูคุณภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีจำนวน
5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 บุคคลแห่งการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะทางวิชาการ
องค์ประกอบที่ 3 คุณธรรม และจริยธรรม องค์ประกอบที่ 4 จิตวิญญาณความเป็นครู และองค์ประกอบที่ 5 บุคลิกภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วรรณากร พรประเสริฐ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

อาคาร ED 1 ชั้น 1 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

 

สำราญ มีแจ้ง, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

อาคาร ED 1 ชั้น 1 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

อาคาร ED 1 ชั้น 1 ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์ ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560, จาก http://www.google.co.th/url.

คณะทำงานปฏิรูปการศึกษาของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. (2558). กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา จากร่าง Road map ปฏิรูปการศึกษา (2558-2564). สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://goo.gl/avTbvn.

คณะศึกษาศาสตร์. (2556). โครงการผลิตครูคณภาพ. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://goo.gl/fw19Sn.

จารุนันท์ ขวัญแน่น. (2551). การพัฒนาตัวชี้วัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ฉลอง ชาตรูประชีวิน และสำราญ มีแจ้ง. (2549). การวิเคราะห์ตัวประกอบคุณลักษณะของครูรุ่นใหม่ตามการ รับรู้ของนักการศึกษาชั้นนำและครูดีเด่น. รายงานการวิจัย, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง และปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. (2553). รายงานการพัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 23(1): 25-54.

ไทยรัฐ. (2560). ครูทำร้ายนักเรียน. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://goo.gl/2cM9jf .

ปกรณ์ ประจันบาน. (2551). เทคนิคการวิเคราะห์และประยุกต์... โมเดลสมการโครงสร้างสำหรับงานวิจัยและประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: เอทีกราฟฟิคเซ็นเตอร์.

ภาวัต ตั้งเพชรเดโช. (2556). จิตวิญญาณความเป็นครูกับความก้าวหน้าในอาชีพที่พยากรณ์ความทุ่มเทในการทำงานของครู. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเหล้าพระนครเหนือ.

มลิวัลย์ บุญดา และศุกลรัตน์ มิ่งสมร. (2552). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2559). จิตวิญญาณความเป็นครู: คุณลักษณะสำคัญของครูมืออาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2): 123-128.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2553). ปฏิรูปคุรุศึกษาของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2561, จาก https://goo.gl/SgR7wR.

สิรพัชร์ เจศฎาวิโรจน์. (2550). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา Development of school curriculum: การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ และการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุดสาคร จันทะล่าม. (2550). พฤติกรรมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ของครูโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุมน อมรวิวัมน์. (2554). ครุศึกษากับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเทพ ธรรมะตะกูล และคณะ. (2555). การศึกษาคุณลักษณะของครูยุคใหม่. คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สมชาย โพธิ์แก้ว. (2547). คุณลักษณะความรู้ความสามารถที่พึงประสงค์ของครูในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และเพชรา พิพัฒน์สันติกุล. (2554). การวิเคราะห์โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่: หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกสถาบันผลิตครู และนิสิต/ นักศึกษา โครงการนำร่อง พ.ศ. 2552 และ 2553. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย 24(2): 149-168.

สวนดุสิตโพล. (2560). ความเชื่อมั่น "ครูไทย" ปี 2560 ที่ผ่านมา. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://goo.gl/DC7vj7.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). 2554 ปีแห่งการพัฒนาคุณภาพครู. อนุสารอุดมศึกษา, 37(392), 5.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2544). เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2554). การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา, ลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 - 2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). รายงานผลการศึกษาสถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อภิญญา ปุยฝ้าย และคณะ (2551). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้มีผลงานดีเด่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัจฉรา พลายเวช. (2549). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจริยธรรมครู. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Buchher, Charies A. (1975). Foundations of Physical Education. 7th ed. Saint Louis: The C.V. Mosby.

Knapper, C., and Cropley, A. (2000). Lifelong Learning in Higher Education. London Kogan Page Limited.

Queensland School Curriculum Council. (2005). Overall learning Outcomes and the valued attributes of a lifelong learner. Brisbane Information Sheet.