ผลการใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

รัตยา สงอุปการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามกับเกณฑ์ร้อยละ 70  และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามกับเกณฑ์ร้อยละ 75   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2558  จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายแบบจับฉลาก โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม   จำนวน  5  แผน  แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์  แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และทดสอบสมมติฐาน  โดยใช้การทดสอบค่าที แบบ  t-test  one sample group


ผลการวิจัย พบว่า


                1)  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม  มีทักษะการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                2)  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75   อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซสมีเดีย.

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

โครงการ PIZA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ บทสรุป สำหรับผู้บริหาร. สมุทรปราการ : แอดวานซ์ พริ้นดิ้ง เซอร์วิส.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). เทคนิคการใช้คำถาม พัฒนาการคิด. นนทบุรี :สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, (2553). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2537). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3.(2557). รายงานประจำปี. สำนักเขตพื้นที่การประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 : สุราษฎร์ธานี

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2551). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สุวคนธ์ ผ่านสำแดง. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่องอาหารและสารอาหารกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ กศ.ม. หลักสูตรและการสอน : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อาร์ม โพธิ์พัฒน์ . (2550). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเขียนแผนผังมโนมติ. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bloom. Benjamin S. (1976). Taxonomy of Education Objective Handbook:Cognitive Domain. New York: David McKay Company Inc.

Eisenkraft, A. 2003. Expanding the 5E Model A proposed 7E model emphasizes “transfer of learning”and the importance of eliciting prior understanding. Journal of The Science Teacher 70 : 56-59.

Kuder, Frederic G. and M.W. Richardson. (1937). The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrika. 2(September 1937), 151-160.

Lawson, A. E. (1995). Science Teaching and the Development of Thinking. Belmont : Wadsworth.

Marzano Robert J. (2001). Designing A New Taxonomy oF Education Objectives. California : Corwin Press.