การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องภาษาอังกฤษน่ารู้ร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ผกามาศ ปานแก้ว
นุชนาฏ ใจดำรงค์
วัลลยา ธรรมอภิบาล อินทนิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อ  1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องภาษาอังกฤษน่ารู้ร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  E1/E2ที่ 85/85  2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย  เรื่องภาษาอังกฤษน่ารู้ ร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย  เรื่องภาษาอังกฤษน่ารู้ ร่วมกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนเทศบาล 4  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2559 จำนวน 155 คน  ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Sampling)เครื่องมือการวิจัย ได้แก่  1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  3)  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีค่าความเชื่อมั่น 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)  และค่าที (t – test Dependent)


            ผลการวิจัย  พบว่า  1) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ  82.86/82.50  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05  3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย  อยู่ในระดับมากที่สุด  ( = 4.56, S.D. = 0.59)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ผกามาศ ปานแก้ว, มหาวิทยาลัยทักษิณ

140 หมู่ที่ 1 ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา 95000

นุชนาฏ ใจดำรงค์, มหาวิทยาลัยทักษิณ

สาขาวิชาเทคโนโลยีและสือสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ อ.เมือง จ.สงขลา 90000

วัลลยา ธรรมอภิบาล อินทนิน, มหาวิทยาลัยทักษิณ

สาขาวิชาการประเมินผลและวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). รวมกฎหมายการศึกษา (ฉบับผู้ปฏิบัติ), เล่มที่๑.กรุงเทพฯ : สกศ.

สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่11 พ.ศ.2559-2559,เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ : สป.

สทศ. (สถาบันทดสอบทางการศึกษา(องค์การมหาชน)). (2558). ประกาศผลสอบ O-Net 56. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/ Summary ONETP6_ 2558.pdf.

ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล. (2555). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรมLectureMaker2.0.สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548) . เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์.

สมบัติ การจนารักพงค์. (2547). เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์ธารอักษร.

ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั่งที่ 16). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงษ์วิภา ปัญญารมย์. (2550 ). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เรื่องคำนาม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต.สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Robert Heinich, Michael Molenda, James D. Russell and Sharon E. Smaldino (2002) Instructional media and technologies for Learning Seventh Edition N.J.: Merrill Prentice Hall., Inc.