รูปแบบหลักสูตรเพื่อปวงชนขององค์กรประชาสังคมสำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ชรินทร์ มั่งคั่ง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบหลักสูตรและการจัดหลักสูตรเพื่อปวงชนของศูนย์การเรียนสำหรับนักเรียนชาติพันธุ์ กลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลมีจำนวน 23 คน ประกอบด้วย 2  กลุ่ม คือ กลุ่มผู้มีความรู้และประสบการณ์จำนวน 13 คน ได้มาจากการใช้วิธีสืบสาวเชื่อมโยงบุคคล และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษาเด็กชาติพันธุ์ จำนวน 10 คนได้มาจากความสมัครใจ ยินดีเปิดเผยตัวตนและข้อมูล พบว่า 1) รูปแบบหลักสูตรเพื่อปวงชนสำหรับนักเรียนชาติพันธุ์เป็นหลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคมโดยมุ่งเน้นการพัฒนาจิตสำนึกพลโลก การรู้เชิงลึกในสิทธิการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร ซึ่งหลักสูตรที่ใช้ในศูนย์การเรียนมีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) การจัดหลักสูตรเพื่อปวงชนของศูนย์การเรียนสำหรับนักเรียนชาติพันธุ์นั้นเกิดขึ้นมาจากพลังองค์กรประชาสังคมที่ทำงานแบบมีส่วนร่วมกับภาคท้องถิ่น โดยเข้ามาสนับสนุนและให้การช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเสมอภาค การจัดการศึกษาขององค์กรประชาสังคมได้ส่งเสริมให้นักเรียนชาติพันธ์ได้ตระหนักและเชื่อว่าการศึกษานำไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า  อย่างไรก็ตามรัฐไทยจำเป็นต้องทบทวนนโยบายทางการศึกษาเพื่อสร้างโอกาสแก่เด็กไร้รัฐที่อาศัยในสังคมไทยอย่างเท่าเทียมและเป็นความรับผิดชอบของรัฐตามสิทธิมนุษยชนในการส่งเสริมความเป็นพลโลกที่พึงประสงค์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชรินทร์ มั่งคั่ง, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รองศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาสังคมศึกษา ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). ชุดการเรียนการสอน เรื่องสหประชาชาติ ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2559). อุดมคติวิทยา:หลักสูตรสังคมศึกษาเพื่อปวงชน. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ไดโดมอน กราฟิก กรุ๊ป.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2553). รายงายวิจัยเรื่องการศึกษาพหุวัฒนธรรมด้านความเป็นพลเมืองดีในสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชลิต ชีช้าง และ. (2551). การสำรวจคนไร้สัญชาติและคนชายขอบในจังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ชาย โพธิสิตา. (2559). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน).

ชูชัย ศุภวงศ์. (2539). “การก่อตัวและเคลื่อนไหวของประชาสังคมไทย” ในประชาสังคมกับการพัฒนาสุขภาพ:บทวิเคราะห์ทางวิชาการ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ธีรยุทธ บุญมี. (2540). สังคมเข้มแข็ง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.

นงเยาว์ เนาวรัตน์ และคณะ. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง ประชาสังคมและสิทธิทางการศึกษาสำหรับเด็กไร้รัฐ.เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นงราม เศรษฐพานิช. (2550). รายงานวิจัยเรื่อง โอกาสทางการศึกษาและการออกกลางคันของบุตรหลานแรงงานต่างด้าว/ชนเผ่าในจังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

บุบผา อนันต์สุชาติกุล. (2554). รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบและการจัดการศึกษาสำหรับทายาทรุ่นที่ 2 ของผู้ย้ายถิ่นจากประเทศพม่า. กรุงเทพ. สนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ประเวศ วะสี. (2536). แนวคิดและยุทธศาสตร์ สังคมสมานุภาพและวิชา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

เปรมใจ วังศิริไพศาล. (2553). รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กต่างด้าว กรณีศึกษาอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา. (2550). คนไร้สัญชาติในรัฐไทย. กรุงเทพฯ:วิญญูชน

ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ อักษร A-Z. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสภา. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ :ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจี้ยฮั้ว.

ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา. (2555). รายงานการเสวนทางวิชาการ เรื่อง บทบาทประชาสังคมกับการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาเด็กไร้รัฐจากพม่า. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย. (2550). รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดและจัดทำแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กอพยพต่างด้าวและแรงงานเด็กข้ามชาติ. วันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2550 โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร.
สุภางค์ จันทวานิช. (2550). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานติดตามการศึกษาเพื่อปวงชนระดับโลก: ประเทศไทย.กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

เสรี พงศ์พิศ. (บก.) (2531). ทิศทางหมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาชนบท มูลนิธิหมู่บ้าน.

อนุชาติ พวงสำลี และคณะ. (2544). การตอบสนองต่อภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของภาคประชาสังคมไทย. ในรายงานการประชุมวิชาการ “Civil Society Response to the Asian Crisis : Thailand” วันที่ 25 มิถุนายน 2544 โรงแรมรอยยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานคร.

อนุชาติ พวงสำลี และวีรบูรณ์ วิสารทสกุล. (2540). ประชาสังคม คำ ความคิดและความหมาย. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2542). “ส่วนรวมที่มิใช่รัฐ:ความหมายของประชาสังคม”.ใน ขบวนการประชาสังคม: ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนการวิจัย.

Cood. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book Company.

Nongyao. (2008). Research report on Migrant Child Workers on the Thai-Burma Border: an investigation of child labour under globalized agricultural enterprises in Maesot and Phob Phra, Tak province. Bangkok: International labour Organization (ILO).

Oliva. (2012). Developing the Curriculum (8th ed.). London: Pearson.

Schiro. (2008). Curriculum Theory: Conflicting Vision and Enduring Concerns. Thousand Oaks, CA: Sage Publication, Inc.

UNESCO. (2015). Education for All 2000-2015: Achievements and Challenges. France: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization.