ภาวะผู้นำเชิงวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนที่ส่งต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงวิชาการ วัฒนธรรมองค์การ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิชาการและวัฒนธรรมองค์การกับแรงจูงใจในการปฏิบัติของครู 3) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงวิชาการของ วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติของครูและ 4) สร้างสมการพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู จากภาวะผู้นำเชิงวิชาการและวัฒนธรรมองค์การ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูจำนวน 298 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของKrejcie& Morgan (1970, pp. 607 - 610) ซึ่งสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) กำหนดขนาดโรงเรียนเป็นชั้นเครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ คะแนนเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย (Simple Correlation ) วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพหุคูณแบบหลายขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า1)ภาวะผู้นำเชิงวิชาการ วัฒนธรรมองค์การ และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก2)ภาวะผู้นำเชิงวิชาการ วัฒนธรรมองค์การและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .013)ภาวะผู้นำเชิงวิชาการ วัฒนธรรมองค์การส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ตัวแปรความมีคุณภาพ (X25), ความหลากหลายของบุคลากร (X29), การกำหนดพันธกิจโรงเรียน (X10) และ ความเอื้ออาทร (X27)สามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติของครู ได้ร้อยละ 51.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในรูปคะแนนดิบ
= 1.532+.256(X25)+ .153(X29) + .113(X10) +.108(X27)
หรือสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน
= .327(Z25)+ .200(Z29) + .141(Z10) +.152(Z27)
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กาญจนา เกสร. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ดวงดาว บุญกอง. (2553). วัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: แอล.ที.เพรส จำกัด.
นพวนา วิภักดิ์.(2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
น้ำฝน รักษากลาง. (2553). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่ 2 ด้านผู้เรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 1 และเขต 2 . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยภัฏพระนครศรีอยุธยา
พิเชฐ ทรวงโพธิ์.(2553). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรกรมทรัพยากรน้ำบาดาล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวลัยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2554). มนุษยสัมพันธ์:พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สรัญพัทธ์ เอี๊ยวเจริญ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุรินทร์ ชุมแก้ว. (2556). วัฒนธรรมองค์การ ภาวะผู้นำแบบสร้างความเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมการทำงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารในองค์การเอกชน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.
แสงเพ็ชร แสงจันทร์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6. (2558). แผนปฏิบัติการ 2558. ฉะเชิงเทรา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6.
อดุลย์ วิริยาพันธ์. (2557). ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรรถวิท ชื่นจิตต์. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนรุ่นเจนเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Hallinger, P. & Murphy, J. (1985). Assessing the Instructional Management Behavior of Principals. The Elementary School Journal. 86(2), 223.
Hoy, W. K. & Hoy, A. W. (2006). Instructional leadership: A learning-centered guide (2thed.). The United State of America: Omega type Typography.
Krejcie, R. V., & Morgan, D.W. (1970).Determining sample size research activities.Educational and Phychological Measurement. 30(3), 608.
Krug, S. E. (1992). Instructional Leadership : A Constructivist Perspective. Educational Administration Quarterly. 28(3), 430-443.
McClelland, D.C. (1961). The Achieving society. New York: The Free Press.
McEwen, E. K. (1998). Satisfaction with Education in Alberta. Alberta journal of educational research, 44(1). 20-37.
Petterson, J., Purkey, S. and Jackson, P. (1986). Guiding beliefs of school district. Productive school systems for a nonrationalWori. 5(14), 50-51.