ผลการใช้บทเรียนการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกัน

Main Article Content

สุวิช นนทบุตร
สมสิทธิ์ จิตรสถาพร
พูลพงศ์ สุขสว่าง

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง  ของนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา  ที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวและแบบแสดงตัว  โดยใช้ผลการเรียนเดิมเป็นตัวแปรร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 423213 การใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources Utilization)  ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวและแบบแสดงตัว จำนวน 40 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  บทเรียนการศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง  เรื่อง  การใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และแบบวัดบุคลิกภาพ  MPI (The Maudsley Personality Inventory)สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One-way ANCOVA)


            ผลการวิจัยพบว่า นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าแบบแสดงตัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุวิช นนทบุตร, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาบัณฑิต  สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

สมสิทธิ์ จิตรสถาพร, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

รองศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา : อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก

พูลพงศ์ สุขสว่าง, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

References

กรกช รัตนโชตินันท์. (2547). การนำเสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกสถานที่เสมือนในการเรียนการสอนบนเว็บกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

จันทร์เพ็ญ ทิพย์วารี. (2546). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีบุคลิกภาพแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เจษฎา ชนะโรค. (2530). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับวิธีการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนิสิตระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2553). การเรียนการสอนบนเว็บในการเรียนอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงเดือน เทศวนิช. (2535). หลักการสอนทั่วไป. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครูพระนคร.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2544). การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์สาร. 28(1), 87-93.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2551). การพัฒนาระบบการสอนแบบอิงประสบการณ์โดยใช้แหล่งวิทยาการสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิชุดา รัตนเพียร. (2545). การเรียนการสอนบนเว็บขั้นนำ Introduction to Web-Based Instruction. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมทรง สุวรรณเลิศ, ละเอียด ชูประยูร, สุมนา ศิริสวัสดิ์, และวิภา ปิฏกานนท์. (2512). การทดสอบบุคลิกภาพ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 14(1), 17-29.

สมสิทธิ์ จิตรสถาพร. (2535). เทคนิคการจัดการศึกษานอกสถานที่. สงขลา : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ สงขลา.

Clark, K.F., Hosticka, A., Schriver, M., & Bedell, J. (2002). Computer based virtual field trips. Retrieved March 24, 2014, from http://files.eric.ed.gov/fulltext/ED476987.pdf

Cowden, P. A., DeMatin,J. D., & Lutey,W. E. (2006). Stepping inside the classroom : A look into virtual field trips and the constructivist educator. JPACTe. 1(1), 1-8.

Eysenck. (1967). The biological basis of personality. Springfield : Charles C Thomas.

Hoffman, J.L. & Water, K. (1982). Some effect of student personlity on success with computer-assisted instruction. Educational Technology. 22(3), 20-21.

Hopmeier, G. (1981). New study says CAI may favor introvert. Electronic Education. 1(1), 16-17.

Jung, C.G. (1959). Psychological types. London : Routledge’s Kegan Paul. Broad Way House.

Park, H., Shin, B., Cui, X., & Hwang, J. (2008). What will happen to virtual field trips? beyond classroom. Retrieved March 20, 2014, from http://ieeexplore.ieee.org/stamp/stamp.jsp?tp=& arnumber=4700756.

Qui, W., & Hubble, T. (2002). The advantages and disadvantages of virtual field trips in geoscienceeducation. Retrieved July 3, 2014, from http://science.uniserve.edu.au/pubs/ china/vol1/weili.pdf.

Robinson, L. (2009). Virtual field trips : The pros and cons of an educational innovation. Computer in New Zealand School Learning Teaching Technology. 21(1), 1-17.

Smith, J. W. (1976). Outdoor education for american youth. Washington D.C. : American Association for Health Physical Education and Recreation.

Woerner, J.,J. (1999). Virtual field trips in the earth science classroom. Retrieved July 17, 2014, formhttp://eric.ed.gov/?id=ED446901