นวัตกรรมการศึกษา : การดำรงอยู่ของโฮสเทลในสังคมไทย

Main Article Content

สุทธิพร เสฏฐิตานันท์
ฉัตรวรัญช์ องคสิงห

บทคัดย่อ

            การวิจัย “นวัตกรรมการศึกษา : การดำรงอยู่ของโฮสเทลในสังคมไทย” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ศึกษาการปรับตัวทางธุรกิจเพื่อการดำรงอยู่ของโฮสเทล   เพื่อศึกษานวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการดำเนินการของโฮสเทล  และเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนรอบข้างของโฮสเทลเกิดความยั่งยืน


            การวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิคการเก็บรวบรวมเชิงคุณภาพ    โดยข้อมูลที่รวบรวมมาจากสองวิธี  วิธีแรกคือข้อมูลปฐมภูมิ จะมีลักษณะเป็นการสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างเชิงลึก  โดยมีการวางโครงสร้างคำถามไว้อย่างหลวมๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์สอดคล้องกับปรากฏการณ์ และพร้อมๆกับการสัมภาษณ์เชิงลึก  ผู้วิจัยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม  โดยผู้วิจัยพาตัวเองเข้าไปเป็นนักท่องเที่ยว  และเข้าไปใช้บริการของโฮสเทลทั้ง 3 แห่ง  วิธีทีสองคือการใช้ข้อมูลทุยภูมิ  คือการรวบรวมจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ  


            การวิจัยนี้แสดงให้เห็นข้อค้นพบว่านวัตกรรมการปรับตัวเป็นประเด็นหลักที่นำไปสู่ความสำเร็จ  การที่ผู้วิจัยพาตัวเข้าไปเป็นนักท่องเที่ยว  และใช้วันเวลาอย่างมากเพียงพอเพื่ออยู่ร่วม  พูดคุยกับนักท่องเที่ยวและผู้เกี่ยวข้องคนอื่นๆ   ตลอดจนร่วมทำกิจกรรมต่างๆในโฮสเทลทำให้พบว่า  โฮสเทลยืนอยู่กึ่งกลางระหว่างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขนาดใหญ่อย่างเช่นโรงแรม  กับสถานประกอบการขนาดเล็กแบบเกสต์เฮ้าส์   โฮสเทลสามารถบริหารจัดการตนเองได้ภายในต้นทุนค่าปรับปรุงอาคารเดิมด้วยเงินลงทุนที่ไม่มากนัก  แต่สามารถตอบโจทย์ของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะแบบแบ๊คแพคเกอร์ได้อย่างลงตัว  การปรับตัวของโฮสเทลดำเนินไปภายใต้การใช้ทรัพยากรที่น้อยทั้งด้านเงินลงทุน  ด้านการบริหารบุคคล  แต่บริการที่โฮสเทลให้กับนักท่องเที่ยวเป็นแบบการสร้างสรรค์ซึ่งสะท้อนถึงนวัตกรรมในด้านการจัดการโรงแรม  ความโดดเด่นของโฮสเทลคือการตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน  ความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงสถานที่ที่แสดงถึงความเป็นตัวของตัวเองและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับผู้ที่เข้ามาพัก  โฮสเทลจึงไม่เป็นเพียงที่พักแต่เป็นสัญลักษณ์ที่สร้างความรับผิดชอบกับสิ่งแวดล้อมและสังคม  เนื่องจากที่พักของโฮสเทลมีราคาถูกเมื่อเทียบกับการจัดการแบบอุตสาหกรรมโรงแรม  แต่กระบวนการบริหารจัดการอย่างสร้างสรรค์ในโฮสเทลก่อให้เกิดการศึกษาและเรียนรู้ในการปรับตัวได้ดีในการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนรอบข้าง เนื่องจากจุดสนใจของนักท่องเที่ยวแบบแบ๊คแพคเกอร์อยู่ที่วิถีชีวิตของท้องถิ่น   สำหรับเศรษฐกิจโดยรวมแล้วสิ่งเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับชุมชน  และเกิดสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องกระจายออกไปอย่างเท่าๆกัน  โฮสเทลเป็นตัวอย่างของการนำทรัพยากรกลับมาใช้เพื่อให้มีประโยชน์อีกครั้ง   แม้ว่าข้อจำกัดของโฮสเทลในเวลานี้คือการยังไม่มีกฎหมายที่มารับรองการดำรงอยู่ของโฮสเทล  แต่ด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการบริหารจัดการที่ยึดนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ทำให้โฮสเทลสามารถปรับตัวได้  และดำรงอยู่ได้ภายใต้การจัดการโดยยึดความยั่งยืนของชุมชน  การไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งไม่ได้หมายความเฉพาะสิ่งก่อสร้างอย่างอาคารและสถานที่  แต่หมายรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นวิถีชุมชนด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุทธิพร เสฏฐิตานันท์, มหาวิทยาลัยรังสิต

นักศึกษาระดับปริญญาเอก  สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต

ฉัตรวรัญช์ องคสิงห, มหาวิทยาลัยรังสิต

ผศ.ดร.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต 

References

Chung-Herrera, Beth G., Enz, Cathy A., & Lankau, Melenie J. (2003). Grooming Future Hospitality Leaders : A Competencies Model. Retrieved from http://www.scholarship.sha.cornell.edu/articles/366/

Community Empowerment Network. (2017). What is Community Based Tourism? Retrieved from http://www. endruralpoverty.org/cen-tours-homepage/142-Programs/tourism/409-what-is-community-based-tourism

Innovative Hotel Digital Marketing Campaigns to Inspire Us. Retrieved July 7, 2016, from http://www.webrezpro.com/

Sharif Shams Imon. (2017). What is the advantage of keeping old buildings for the sake of heritage while there is an increasing demand for land in the cities for their dwellers? Retrieved from https://www.researchgate.net

TEPSIE no. 14. (December 2014). Social Innovation and Research. Retrieved from https://iupe.files.wordpress.com/