ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ เจตคติและพฤติกรรมการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสงขลา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) ผลวิจัยพบว่า
- บุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจต่อการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.39 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.17 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
- มีเจตคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35
- มีพฤติกรรมการทำงานการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54
4.1 ความแตกต่างด้านความรู้ความเข้าใจต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และตำแหน่งการปฏิบัติงานต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจต่อการประกันคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกัน
4.2 ความแตกต่างด้านเจตคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งการปฏิบัติงานต่างกัน มีเจตคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกัน แต่บุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน เจตคติต่อการประกันคุณภาพการศึกษาต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
4.3 ความแตกต่างด้านพฤติกรรมการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษา มีพฤติกรรมการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกัน แต่ประสบการณ์การทำงานและตำแหน่งการปฏิบัติงานต่างกัน พฤติกรรมการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กรมวิชาการ. (2544 ข). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา : แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา. เอกสารชุดการประกันคุณภาพ. ลำดับที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
กรมวิชาการ. (2544 ค). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา : แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา. เอกสารชุดการประกันคุณภาพ. ลำดับที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (มปป). มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ : สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มาตรฐานอุดมศึกษา, สำนัก. (2540). รายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา : ดัชนีบ่งชี้คุณภาพแบบรายงานการศึกษาตนเองและคู่มือการตรวจสอบและประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา. 7-8 สิงหาคม 2540 ณ อาคารเทพรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). ศักยภาพการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในประเทศไทย. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.