การศึกษารูปแบบการสร้างความยั่งยืนของระบบนิเวศชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้จากความร่วมมือของโรงเรียนกับชุมชนในการรื้อฟื้นระบบนิเวศชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างความยั่งยืนของระบบนิเวศชุมชนท่ามกลางกระแสสังคมสมัยใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ระบบนิเวศของป่าที่มีความสัมพันธ์กับคนในชุมชนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ใช้วิธีวิทยาของการสร้างทฤษฎีจากฐานราก ผลการศึกษาพบว่า ความยั่งยืนของระบบนิเวศชุมชน ไม่อาจเกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ให้ความหมายต่อธรรมชาติในฐานะที่เป็นทรัพยากรเชิงวัตถุเพียงอย่างเดียว เพราะธรรมชาติไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชุมชนที่ได้สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้จากความหลากหลายทางชีวภาพจนก่อให้เกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งตราบใดที่การให้คุณค่าของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังไม่เคลื่อนไปไกลกว่าการคำนึงถึงมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ ส่วนวิถีชีวิตชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น ยังคงถูกมองว่าเป็นเรื่องของความล้าสมัย ก็คงเป็นการยากที่จะสร้างให้เกิดความยั่งยืนของระบบนิเวศชุมชนอย่างแท้จริง
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 (ตอนที่ 115 ก).
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2541). สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา. นครปฐม : สถาบันพัฒนาการ สาธารณสุขอาเซียน.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.(2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด (พ.ศ.2555-2559). เอกสารอัดสำเนา
อำไพ หรคุณารักษ์. (2550). ความรู้เพื่อประชาชน ชุดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. เอกสารอัดสำเนา
Stern, P. N. (1994). Encoding Grounded Theory. In J. M. Morse (Ed.), Critical Issues in Qualitative Research (pp.212-223). Thousand Oaks, CA : Sage