การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีปากพนัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนสตรีปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 12 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่องอาหารและการดำรงชีวิต จำนวน 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องอาหารกับการดำรงชีวิต 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอาหารกับการดำรงชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t–test
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่องอาหารกับการดำรงชีวิต มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill ร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เรื่องอาหารกับการดำรงชีวิต มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เทียนทอง ดีรักษา. (2553). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง พันธุกรรม สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนตามแนวคิดทฤษฎีสรรคนิยมของ Underhill. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิรุณพรรณ พลมุข. (2550). ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ของ Underhill ที่มี ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในวิชาเคมี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เรณู จินสสกุล. (2552). การพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมพงษ์ จิตระดับ. (2554). สพฐ.รับโอเน็ตเด็กไทยต่ำไม่คุ้นข้อสอบคิดวิเคราะห์. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558, จาก http://www.komchadluek.net/detail/20090408/8715/ สพฐ.รับโอเน็ตเด็กไทยต่ำไม่คุ้นข้อสอบคิดวิเคราะห์.html.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. (2558). ผลการสอบโอเน็ต. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558, จาก http://www.sea12.go.th/sea12/index.php/o-net
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอน ในโรงเรียนมาตรฐานสากลฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). ระบบประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ต. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558, จาก http://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/ Login.aspx,
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2549). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบ 2 (พ.ศ.2549-2553). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
อัจฉรา ไชยโย. (2555). ผลของการจัดการเรียนการรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ที่มีต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์, 23 (3), 151-161.
Slavin, R.E. (1987). “Cooperative Learning and Cooperative School”. Education Leadership. 45 (3); 7-13
Underhill, R.G. (1991). Two layers of constructivist curricular interaction. In E. von Glasersfeld (Ed.), Radical Constructivism in Mathematics Education Dordrecht. The Netherlands: Kluwer Academic. p. 229-248.