แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสื่อสารสำหรับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ประทุมเพชร แซ่อ๋อง อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อรุโณทัย อินทนิด อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการเรียนรู้, ความสามารถ, การพูดสื่อสาร

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดสื่อสารสำหรับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยแบ่งกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างองค์ความรู้ความสามารถในการพูดสื่อสาร 2) ขั้นส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้สื่อหรือเทคโนโลยีในการพูดสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ 3) ขั้นสร้างประสบการณ์การพูดสื่อสาร ทั้งนี้แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ได้นำเสนอจะมุ่งเน้นการเสริมสร้างให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ (Knowledge) ทักษะและการปฏิบัติ (Practice) และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attitude) ที่เกิดขึ้นจากการกระบวนการเรียนรู้ การฝึกฝน ฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จำลองต่าง ๆ ที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนทักษะการพูดสื่อสารสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ครุสภาลาดพร้าว.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2564). การจัดการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คะเณยะ อ่อนนาง. (2561). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 กับการเรียนการสอนแบบ Active Learning. ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการ พ.ศ. 2561. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 25). สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประนอม ดอนแก้ว. (2550). การใช้กลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวทางกายในการเล่นวอลเล่ย์บอลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวียงมอกวิทยา. [การศึกษาค้นคว้าอิสระ]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. (2563). อินโฟกราฟฟิก (แนวคิดเบื้องต้น): Infographic. Active Learning : Learning for All. https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=1991

วิเศษ ชาญประโคน. (2550). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

DLTV1. (2566, 26 มิถุนายน). หน่วยที่ 3 วาจานั้น สำคัญนัก รายการ การพูดสื่อสาร 26 มิถุนายน 2566. มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์. https://dltv.ac.th/teachplan/episode/61961

Kolb, D. A., Osland, J. S., and Rubin, I. M. (1991). Organizational behavior: An Experiential Approach (5th ed). Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27