การศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้สื่อดิจิทัลสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
คำสำคัญ:
สมรรถนะการสอน, การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ, สื่อดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัลสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัลสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 375 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซีและมอร์แกน และวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิค PNIModified ผลการวิจัย พบว่า 1. ความต้องการจำเป็นเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัลสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ ด้านทักษะ รองลงมา คือ ด้านความรู้ และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ ด้านคุณลักษณะ ตามลำดับ 2. แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัลสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จำแนกตามความต้องการจำเป็นมากที่สุดของแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านทักษะ ผู้บริหารควรจัดอบรมให้ครูมีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัลอย่างหลากหลายสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง ด้านความรู้ ผู้บริหารควรจัดอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัล และด้านคุณลักษณะ ผู้บริหารและครูร่วมกำหนดเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อดิจิทัลให้ประสบความสำเร็จ
References
กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564, 29 ธันวาคม). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2566.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563 – 2565. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ชัชรีย์ บุนนาค. (2561). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564 – 2568. ใน ดวงสมร รุ่งสวรรค์โพธิ์ (บ.ก.), การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “Graduate School Conference 2018”. (น. 235-241). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ดลวรรณ พวงวิภาต. (2562). องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษของโรงเรียนประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2559). การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มมูลค่า (พิมพ์ครั้งที่ 2). เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.
ปิยาภรณ์ อัครลาวัณย์. (2562). การศึกษาความต้องการและแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พศิน แตงจวง. (2554). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา. ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
ภาณุมาศ เกษรสุริวงค์. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูภาษาอังกฤษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ลักษณ์พร เข้มขัน. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาอังกฤษในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2561). วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2565). สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565 นโยบายที่ 1 การยกระดับคุณภาพการศึกษา ตัวชี้วัดที่ 1.5 ร้อยละของครูที่ผ่านการทดสอบทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ตามมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ (CEFR). http://203.159.249.147/e-inspec/sp_2562/spinfo/index.php
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565, 10 มิถุนายน). สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565. http://www.bopp.go.th/?page_id=1828
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2548). Competency Dictionary. เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2552). การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล. พิมพ์ดีการพิมพ์.
อนุชา เจริญโพธิ์, วีรฉัตร์ สุปัญโญ, และวิภาวรรณ ตินนังวัฒนะ. (2559). แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมพลังด้านการสอนภาษาอังกฤษสำหรับครูตำรวจตระเวนชายแดน. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์(สังคมศาสตร์), 37(1), 75–85.
Lao, Hendrik A. E., Kaipatty, Gres J., and Jeronimo, Agapito D. C. (2017). A Study on Teachers’ Competency in Teaching English at SMA Negeri 2. The 3rd International seminar on Education and Technology 2017. State University of Semarang.
Asriyanti, E., Sikki, A., Rahman, A., Hamra, A., and Noni, N. (2013). The Competency of Primary School English Teachers in Indonesia. Journal of Education and Practice, 4(11), 139-144.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). Harper Collins Publishers.
Dagarin-Fojkar, M., Grahut, M., and Skubic, D. (2021). Teacher Competences for Teaching English as a foreign Language in the First Education Cycle of Primary Education. European Journal of Educational Research, 11(1), 423-433.
Namachi, S.K., Okwara, M.O., Indoshi, F.C., Shiundu, J.O., and Namachi, E.A. (2011). Towards Teacher Preparedness in Teaching English Language in Primary Schools. International Research Journal, 2(8), 1356-1361.
Nurlaila. (2019). Teachers’ Competence in Teaching English to Young Learners Using Syntactic Approach in Kota Lhokseumawe. Elite Journal: Journal of English Linguistic, Literature, and Education, 1(1), 95-110.
Segolsson, M. and Hirsh, A. (2019). How Skilled Teachers Enable Success in Their Teaching with Respect to Inclusion and Knowledge Development: A Qualitative Study based on Teacher’s Experience of Successful Teaching. International Journal of Teaching and Education, 2(2), 35-52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม