ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนอ่านวรรณกรรมเชิงวิเคราะห์ ของนักศึกษาครูโปรแกรมวิชาภาษาไทย

ผู้แต่ง

  • จิรัฎฐ์ เพ็งแดง นิสิตระดับปริญญาเอก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อ้อมธจิต แป้นศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ประภาษ เพ็งพุ่ม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ปัญหา, ความต้องการจำเป็น, การจัดการเรียนการสอนอ่านวรรณกรรมเชิงวิเคราะห์, นักศึกษาครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนอ่านวรรณกรรมเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาครูภาษาไทย 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อสร้างเสริมการจัดการเรียนการสอนอ่านวรรณกรรมเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาครูภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คืออาจารย์ผู้สอน จำนวน 5 ท่าน, ครูพี่เลี้ยง 9 ท่าน และนักศึกษาที่ผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 60 คน กลุ่มที่ 2 คือ นักศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในปีการศึกษา 2566 จำนวน 50 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัยข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าดัชนี PNI_Modified ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาในด้านความสามารถในการอ่านวรรณกรรมเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.07, S = 1.01) และมีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน (PNI_Modified = 0.51) ซึ่งสามารถสรุปต้นเหตุของปัญหาได้ 3 ประการ คือ 1) นักศึกษามีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เนื้อเรื่องไม่มากพอ 2) นักศึกษาไม่ทราบทฤษฎีและหลักการในการอ่านเชิงวิเคราะห์ และ 3) นักศึกษาไม่สามารถวิเคราะห์เรื่อง บทอ่าน หรือวรรณกรรมที่มีเนื้อหายาวและซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเป็นเพราะการขาดแรงบันดาลใจหรือเป้าหมายในการอ่าน ส่วนปัญหาด้านการจัดการเรียนการสอนอ่านวรรณกรรมเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.03, S = 1.07) และมีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน (PNI_Modified = 0.50) โดยทั้ง 2 ประเด็นสามารถเรียงลำดับด้านที่มีปัญหาและมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาได้ ดังนี้ 1) ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.42, S = 0.98) โดยต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน (PNI_Modified = 0.69) เพราะนักศึกษาไม่สามารถวางแผนและเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ, 2) ด้านการวิเคราะห์หลักสูตร ซึ่งมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.29, S = 0.90) โดยต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน (PNI_Modified = 0.55) เพราะนักศึกษายังไม่เข้าใจและไม่สามารถวิเคราะห์หลักสูตรได้อย่างถูกต้อง รวมถึงยังมีความสับสนในการประยุกต์ใช้หลักสูตรฯ ทั้งการกำหนดตัวชี้วัดและการกำหนดเนื้อหา, 3) ด้านการวัดและการประเมินผล ซึ่งมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.10, S = 1.06) โดยต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน (PNI_Modified = 0.52) เพราะนักศึกษายังไม่สามารถเลือกใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับตัวชี้วัดและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมได้ และ 4) ด้านการวัดและการประเมินผล ซึ่งมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย (M = 2.30, S = 0.92) ถึงแม้ว่าจะอยู่ในระดับ ที่ไม่มีความต้องการจำเป็นที่จะพัฒนา (PNI_Modified = 0.28) แต่ความสามารถในการใช้เทคนิคประกอบการสอน และการประเมินผลการใช้สื่อการเรียนการสอนนั้น มีค่าดัชนี PNI_Modified อยู่ในระดับที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยมีค่าดัชนีเท่ากับ 0.54 และ 0.50 ตามลำดับ ผู้วิจัยจึงลงความเห็นว่าควรพัฒนาเรื่องนี้ด้วย เพราะนักศึกษามีความเข้าใจในการผลิตและเลือกใช้สื่อที่ดี แต่ยังบกพร่องในการเลือกใช้เทคนิคประกอบการสอนที่และการประเมินสื่อประเภทต่าง ๆ จากการใช้จริง เพื่อพัฒนาสื่อของตนเองให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดการเรียนรู้ภาษาไทย. โรงพิมพ์องค์การรับและส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์

__________. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544.

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขวัญสกุล แจ่มใส. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โรงเรียนคีรีเวสรัตนเพียร อุปถัมภ์จังหวัดตราด. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17.

จิตตินันท์ สุวรรณภาพ. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้การสอนอ่านแบบพาโนรามา ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นริศรา ชยธวัช. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3116

ปุญญิสา เปงยาวงษ์. (2565). ความต้องจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. NU Digital Repository. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123 456789/5680

พิมลพร พงษ์ประเสริฐ. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3278

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

สกุลรัตน์ เจริญอินทร์พรหม และสมพร ร่วมสุข (2561). การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กลวิธี SQP2RS ร่วมกับแผนผังความคิด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2241

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด. https://www.stou.ac.th/Offices/Oaa/OaaOldPage/Professional/Train_Professional/oaaInfo/oaa/Dept/Dept04/webcur63/Rule_MUA/Plan_Inter2560-2579.pdf

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัจฉรา ประดิษฐ์. (2552). ชวนเด็กไทยให้เป็นนักอ่าน. สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.

Derchant, E. V. (1970). Improving the teaching of reading. Prentice-Hall.

Smith, F. (1978). Understanding reading: A psycholinguistic analysis of reading and learning to read. Holt Rinechart and Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27