ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม
คำสำคัญ:
ทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม, สังคม 5.0, การบริหารวิชาการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 756 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 262 โรงเรียน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษา รวมทั้งสิ้น 1,048 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.71) และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.66) 2) ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนที่เสริมสร้างทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม จำแนกตามการบริหารวิชาการ พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการวัดและการประเมินผล (PNImodified = .267) รองลงมาคือด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = .263) และด้านการจัดการเรียนรู้ (PNImodified = .239) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามทักษะมนุษย์ในสังคมหลังนวัตกรรม พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (PNImodified = .285) ทักษะการค้นหาและสร้างคุณค่า (PNImodified = .277) และทักษะการวิเคราะห์ขอมูล(PNImodified = .268) ตามลำดับ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาพ.ศ. 2550, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 124 ตอนที่ 24 ก, (16 พฤษภาคม 2550), ข้อ 1.
ธนารักษ์ ธีระมั่นคง. (2563). ทักษะมนุษย์ในโลก AI กับ ‘การศึกษา’ ที่ต้อง Transform. https://mgronline.com/qol/detail/9630000003943
ปราณี อัศวภูษิตกุล. (2563). สารสนเทศ นวัตกรรม กับสังคม 5.0. วารสารบรรณศาสตร์ มศว,13(1), 88-96.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ปองสิน วิเศษศิริ. (2555). เอกสารประกอบการสอนวิชา 2747732 การบริหารงานวิชาการกับการประกันคุณภาพการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ. (2562). ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น,16(2), 345-356.
พิจิตรา ธงพานิช. (2561). เอกสารประกอบการสอน วิชาการพัฒนาหลักสูตร. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.
มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ. (2558). การประเมินผลการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(1), 26-41.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วิชัย พยัคฆโส. (2559). สยามรัฐผลัดใบ: ประเทศไทย 4.0 สะท้อนผลลัพธ์สู่สังคม 5.0. https://siamrath.co.th/n/3954
วิเชียร ยอดจักร์. (2555). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 1. [สารนิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040. สกศ.
อจลา ศิริเสรีวรรณ. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0. [วิทยานิพนธ์ ค.ม. (สาขาวิชาบริหารการศึกษา)]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อจลา ศิริเสรีวรรณ . (2564). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0. วารสาร มรม., 15(2), 171-182.
อุไรรัตน์ สิงหนาท. (2560). แนวคิดการพัฒนาจริยธรรมมนุษย์ในยุคโลกไร้พรหมแดนเพื่อรองรับสังคม 5.0, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(2),1-14.
Holroyd, C. (2022). Technological innovation and building a “super smart” society: Japan's vision of society 5.0. Journal of Asian Public Policy, 15(1), 18–31.
Ministry of Education, Culture, Sports, Science and Technology – Japan. (2018). Human Resource Development for Society 5.0 - Changes to Society, Changes to Learning - (Summary). Paper presented at the Human Resource Development for Society Task on Developing Skills to Live Prosperously in the New Age, Japan.
SYDLE. (2022). Education 5.0: What Does IT Mean? How Does It Work? https://www.sydle.com/blog/education-5-0-61e71a99edf3b9259714e25a/
Wiezoreck. A. (2020). Overcoming Societal Challenges and Co-Creating the Future Through Digitalization and Unity in Diversity Analysis of the Japanese Concept “ Society 5 . 0 ” and Its Applicability in Germany. SAP: SE.
World Economic Forum. (2020). The Future of Jobs Report 2020. https://www3.weforum.org/docs/WEF_Future_of_Jobs_2020.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม