การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ด้านมาตรฐานการเพาะปลูกและการจัดการตลาดมะขามหวาน
คำสำคัญ:
หลักสูตรฝึกอบรม, มะขามหวาน, เกษตรกรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านมาตรฐานการเพาะปลูกและการจัดการตลาดมะขามหวาน และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านมาตรฐานการเพาะปลูกและการจัดการตลาดมะขามหวาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมะขามหวาน บ้านซับชมภู หมู่ 8 ตำบลระวิง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาโดยเลือกตัวอย่างตามสะดวก สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t – test for One Sample) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านมาตรฐานการเพาะปลูกและการจัดการตลาดมะขามหวาน พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นฯ มีคะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 4.17 อยู่ในระดับมีความเหมาะสมมาก เป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมฯ ที่ตั้งไว้ 2. ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านมาตรฐานการเพาะปลูกและการจัดการตลาดมะขามหวาน มีดังนี้ 2.1 ความสามารถด้านมาตรฐานการเพาะปลูกและการจัดการตลาดมะขามหวานของเกษตรกร หลังการอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นฯ อยู่ในระดับมาก 2.2 คะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านมาตรฐานการเพาะปลูกและการจัดการตลาดมะขามหวานของเกษตรกรที่ได้รับการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นฯ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.3 เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านมาตรฐานการเพาะปลูกและการจัดการตลาดมะขามหวาน อยู่ในระดับมาก
References
แก้วตา ผิวพรรณ. (2558). กลยุทธ์การจัดการการตลาดของมะขามหวานในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2(2), 77-112.
ธนทัต สุนทรานนท์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ในการปลูกผักกินใบ สำหรับผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ประวุฒิ ทัศมาลี และดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์. (2562). ความพึงพอใจของเกษตรกรรุ่นใหม่ต่อการฝึกอบรมหลักสูตร เตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 37(4), 627-634.
มณี ภาชนะทอง. (2560). การปรับปรุงคุณภาพมะขามหวานด้วยความร้อนระดับครัวเรือนเพื่อวิสาหกิจชุมชน. [วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลราชมงคลพระนคร.
ศิริวรรณ ชุมธีรรัตน์. (2562). การพัฒนาคู่มือการฝึกอบรมการจัดการดินในชุมชนบ้านหนองอุ่ม ตำบลนาสีนวน อำเภอ กันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิราวิชญ์ วราโชติชนกานต์ และวิสูตร โพธิ์เงิน. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น สำหรับผู้ประกอบการอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(2), 174-183.
สำนักงานสถิติจังหวัดเพชรบูรณ์. (2556). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์จังหวัดเพชรบูรณ์. สำนักงานสถิติจังหวัดเพชรบูรณ์.
อภิชาติ ใจอารีย์, ประสงค์ ตันพิชัย และนิรันดร์ ยิ่งยวด. (2560). การพัฒนาหลักสูตรการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อ ส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารปลอดภัยสำหรับชุมชนภายใต้ความร่วมมือของภาคีการพัฒนา. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(3), 119-136.
อรทัย โยธินรุ่งเรือง สุดสงวน. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ในศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร. [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อมรพิมล พิทักษ์. (2563). การพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อังคณา เรืองชัย. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง การทำน้ำสมุนไพรเพื่อเป็นอาชีพเสริมในครอบครัว. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Taba Hilda. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. Harcourt, Brace & World.
Tyler Ralph W (1949). Basic Principia of Curriculum and Instruction. The University of Chicago press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม