การส่งเสริมหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทยสู่ระดับโลก
คำสำคัญ:
การส่งเสริมหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์, มหาวิทยาลัยระดับประเทศ, มหาวิทยาลัยระดับโลกบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักในการส่งเสริมหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศไทยสู่ระดับโลก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษาข้อมูลหลักสูตร AI ของสถาบันการศึกษาชั้นนำในสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนทำงาน กลุ่มนิสิต และกลุ่มนักวิชาการ รวมทั้งหมดจำนวน 35 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า มี 6 องค์ประกอบหลักในการส่งเสริมหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศไทยสู่ระดับโลก ได้แก่ 1) คุณสมบัติของนิสิตผู้เรียน 2) คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอน 3) แหล่งเรียนรู้และเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน 4) ความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยรวมถึงรัฐบาล 5) งบประมาณ 6) สภาพแวดล้อม ค่านิยม และจริยธรรม โดยความแตกต่างหลักในหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ของสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาและไทยคือ สถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์แบบบูรณาการในหลายด้าน โดยเน้นการประยุกต์ใช้และแก้ไขปัญหาจากหลายศาสตร์ รวมถึงมุ่งเน้นให้มีการร่วมมือกับหลายฝ่าย เช่น คณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในขณะที่หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ของไทย เนื้อหารายวิชาเป็นการเรียนเชิงทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติใช้งานจริงและยังขาดการบูรณาการศาสตร์อื่น ๆ เข้ามาประยุกต์กับรูปแบบการเรียนการสอน ดังนั้น หากหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ของสถาบันการศึกษาในไทยสามารถเน้นการเรียนที่มีการประยุกต์ใช้ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งเน้นให้เกิดการปฏิบัติจริงในรูปแบบบูรณาการเชื่อมโยงกับคณะอื่น ๆ รวมถึงการทำงานร่วมกับภาครัฐบาลและเอกชนได้มากขึ้น โดยนำองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ ที่ผู้วิจัยค้นพบไปปรับใช้ จะช่วยส่งเสริมให้หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทยก้าวสู่ระดับโลกได้ และยังสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียนสู่ตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ ในเรื่อง การพัฒนาคนและสถาบันความรู้ เพื่อส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืนอีกด้วย
References
คณะอนุกรรมการด้านนโยบายและยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2560). (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). https://www.nrct.go.th/Portals/0/Document/strategy60-79completecompressed.pdf
ณพิชญา เทพรอด, สุชาติ เซี่ยงฉิน, และธีรวุฒิ บุณยโสภณ. (2566). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการของนักเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 35(125), 17-24.
ธิติรัตน์ สมบูรณ์. (2566). ยุค AI มาถึงแล้ว ประเทศไทยพร้อมรับมือ? จุฬาฯ เตรียมรับการเปลี่ยนแปลง รุดหน้านำ Generative AI ในการเรียนการสอน. https://www.chula.ac.th/highlight/129132/
มณีรัตน์ ชัยยะ และเพ็ญศรี ฉิรินัง. (2566). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล (Digital HR). วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 11(1), 104-115.
ศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2563). เดินหน้าจัดทำแผนแม่บทปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. https://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/national-ai-2021.html
สมศรี พุทธธรรมวงศ์. (2563). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของการค้าปลีกยุคใหม่. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Government Transformation Magazine. (2023). UK ranks fourth in Global AI index. https://www.government-transformation.com/en/citizen-experience/uk-ranks-fourth-in-global-ai-index
Nature Index. (2020). Top 100 academic institutions in artificial intelligence. https://www.natureindex.com/supplements/nature-index-2020-ai/tables/academic
Stanford University. (2023). 2023 AI Index Report. https://aiindex.stanford.edu/wp-content/uploads/2023/04/HAI_AI-Index-Report_2023.pdf
U.S. Department of State. (2020). Artificial Intelligence (AI). https://www.state.gov/artificial-intelligence/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม