การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน รายวิชา คศ 1101104 การพัฒนาหลักสูตร เพื่อส่งเสริมทักษะการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน, กษะการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา, การพัฒนาหลักสูตรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน 2) เปรียบเทียบทักษะการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน และ 3) เปรียบเทียบทักษะการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาระหว่างนักศึกษาที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนกับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนรายวิชา คศ 1101104 การพัฒนาหลักสูตร ภาคเรียนที่ 1/2565 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และแบบวัดทักษะการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ระหว่างเดือนมิถุนายน - กันยายน พ.ศ. 2565 สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัย พบว่า
- กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) วางแผนสำรวจ (Plan) 2) เตรียมความพร้อม (Prepare) 3) ออกเดินทางค้นหา (Collect) 4) จำแนกข้อมูลลงบันทึก (Classify) 5) สรุปผลการเดินทาง (Conclude) และ 6) แบ่งปันข้อค้นพบ (Share) 4 มีความสอดคล้องของเนื้อหาและความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด
- นักศึกษาที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน มีทักษะการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักศึกษาที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน มีทักษะการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่านักศึกษาที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
คณะกรรมการจัดทำแนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษา. (2542). แนวทางปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 10). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. สุวีริยาสาส์น.
วราภรณ์ บวรศิริ. (2541) พัฒนาการด้านการศึกษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 : การอุดมศึกษาช่วงปีพุทธศักราช 2489-2539. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณNมหาวิทยาลัย.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
อรนุช ลิมตศิร. (2560). การศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 1643-1658.
Association of Experiential Education (AEE). (2003). Definition of experiential education. www.aee.org/ndef.html.
Dowling, M. (2005). Young children’s personal, social and emotional development. Paul Chapman.
Günseli Yıldırım and Güzin Özyılmaz Akamca. (2017). The effect of outdoor learning activities on the development of preschool children. South African Journal of Education, 37(2), 1-10.
Hammerman, R. D. (1994). Teaching in outdoors. Maryland.
Priest, S. (1990). The semantics of adventure education. In Adventure education. (113-117). Venture.
Sal or, G. and Alexander, W. M. (1974). Planning Curriculum for School. Rinehart and Winston.
Sharp, L.B. (1973). Basic Consideration in outdoor and camping education. The Bulletin of The National Association of Secondary School Principals.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม