การพัฒนาคลังข้อสอบเคมีสิ่งแวดล้อมสำหรับครูโดยใช้ทฤษฎีตอบสนองข้อสอบแบบ 4 พารามิเตอร์

ผู้แต่ง

  • ศิมาวรรณ โฮมแพน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
  • สมประสงค์ เสนารัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

เคมีสิ่งแวดล้อมสำหรับครู, คลังข้อสอบ, ทฤษฎีตอบสนองข้อสอบ 4 พารามิเตอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคลังข้อสอบวิชาเคมีสิ่งแวดล้อมสำหรับครู ด้วยทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ 4 พารามิเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2562 จำนวน 200 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบด้วยโปรแกรม R แพคเกจ mirt, lavaan, Psych และ GPArotation

 ผลการวิจัยพบว่า

ข้อสอบที่สร้างขึ้นจำนวน 120 ข้อ ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 90 ข้อ คือมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 เมื่อนำไปตรวจสอบค่าพารามิเตอร์รายข้อกับเกณฑ์การคัดเลือกข้อสอบให้มีค่าอำนาจจำแนก (a) มีค่าระหว่าง 0.50 ถึง 5.00 ค่าจุดตัดความยาก (d) มีค่าระหว่าง -3.00 ถึง 3.00 ค่าโอกาสการเดา (g) มีค่าไม่เกิน 0.30 และ ความสะเพร่า (u) มีค่าไม่ต่ำกว่า 0.70 ข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้าคลังข้อสอบจำนวน 18 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกจำแนกอยู่ระหว่าง 0.55 ถึง 4.55 ค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยเท่ากับ 1.96  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.38 แสดงว่าข้อสอบมีอำนาจจำแนกค่อนข้างสูง ค่าจุดตัดความยากอยู่ระหว่าง –2.82 ถึง 2.95 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.64 แสดงว่า ข้อสอบมีระดับความยากอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างง่าย ค่าโอกาสการเดาอยู่ระหว่าง 0.00 ถึง 0.30 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.01 และค่าความสะเพร่าอยู่ระหว่าง 0.72 ถึง 1.00 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.00 คลังข้อสอบสร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล PhpMyAdmin สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทั้งรูปภาพและตัวอักษร สามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะบนคอมพิวเตอร์ต่อไป

References

กนกกร พวงสมบัติ, สมประสงค์ เสนารัตน์ และเบญจมาภรณ์ เสนารัตน์. (2561). การพัฒนาโปรแกรม

ทดสอบและประเมินวินิจฉัยทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปร

เดียว. วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(2), 90-100.

คมสัน เอี่ยมจำรัส. (2547). การสร้างและพัฒนาโปรแกรมระบบการทดสอบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทร์เพ็ญ มาศแสน,ญาณภัทร สีหะมงคล, ดาวรุวรรณ ถวิลการ.(2559). การสร้างแบบทดสอบพีระมิดที่ มีหลายข้อในแต่ละขั้น ที่ดำเนินการสอบด้วยคอมพิวเตอร์วิชาเคมี เรื่อง ตารางธาตุ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 22(1), 37-46.

ชัยวิชิต เชียรชนะ.(2552). การวิเคราะห์พหุมิติ วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิมยาลัยขอนแก่น, 32(4),

-22.

เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์ และ สมประสงค์ เสนารัตน์. (2552). แผนแบบการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์.

วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.15(1),25-36

เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์, บุญชม ศรีสะอาด และจริยา ภักตราจันทร์. (2559). การพัฒนาเครื่องมือประเมิน

ความสามารถทางการวิจัยการศึกษาของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารการวัดและประเมิน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 22(1), 164-182

เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์ และ สมประสงค์ เสนารัตน์. (2561). หลักการวัดและประเมินผลทางการศึกษา.

(พิมพ์ครั้งที่ 4).มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2545). ประมวลสาระชุดวิชา สัมมนาการประเมินศึกษา หน่วยที่ 1-5

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีทดสอบแนวใหม่, พิมพ์ครั้งที่ (ฉบับปรับปรุง), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีทดสอบแบบดั่งเดิม, (พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สืบค้นเ วันที่10

มิถุนายน 2563.จาก https://www.egov.go.th/th/government-agency/242/

อรณิชชา ทศตา, ปิยะทิพย์ ประดุจพรม, และกนก พานทอง. (2562). การพัฒนาโปรแกรมคำนวณ

คะแนนจุดตัดตามแนวคิดของ Angoff โดยประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ. วิทยาการวิจัย

และ วิทยาการปัญญา,17(2), 134-148.

Barton, M. A., & Lord, F. M. (1981). An upper asymptote for the three-parameter logistic

item-response model. Research Bulletin 81-20. Princeton, NJ: Educational Testing

Service.

Chalmers, R. P. (2020). Package ‘mirt’. Retrieved June 3, 2020, from https://cran.r-

project.org/web/packages/mirt/mirt.pdf

Choi, Y.-J. & Asilkalkan, A (2019). R Packages for Item Response Theory Analysis:

Descriptions and Features. Measurement: Interdisciplinary Research and Perspectives,

(3),168-175, Retrieved May 12, 2020, from DoI: 10.1080/15366367.2019.1586404

Dennis, C. (2006). The Essentials of Analysis. Third edition published by Continuum,

Retrieved June 3, 2020, from https://books.google.co.th/books?id=

rQ2vdJgohH0C&pg A50&lpg=PA50&dq=comrey+and+lee+1992+sample+size&source

=bl&ots=mX9lHSkT3Q&sig=ACfU3U0Y2JTPlBZOWY2O_nNEBE6oeJnkhQ&hl =th&sa

=X&ved=2ahUKEwj64e6F_uXpAhXK7XMBHQDsCKAQ6AEwEXoECAoQAQ#v

=onepage&q=comrey%20and%20lee%201992%20sample%20size&f=false.

Liao, W.-W., Ho, R.-G., Yen, Y.-C., & Cheng, H.-C. (2012). The four-parameter logistic item

response theory model is a robust method of estimating ability despite aberrant

responses. Social Behavior and Personality, 40, 1679-1694.

Loken, E. & Rulison, K. L. (2010). Estimation of a 4-parameter Item Response Theory model.

The British Journal of Mathematical and Statistical Psychology. Retrieved June, 3,

from http://dx.doi.org/10.1348/000711009X474502.

The jamovi project (2019). jamovi. (Version 1.1) [Computer Software]. Retrieved 12

June 2020, from https://www.jamovi.org

McDonald, M. E. (2002). Systematic Assessment of Learning Outcomes: Developing Multiple-

Choice Exams. Published by Jones and Bartlett Publishers

Revelle, W. (2020). Package ‘psych’. Retrieved June 3, 2020, from https://personality-

project.org/r/psych-manual.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28