การศึกษาเปรียบเทียบระดับจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู ในโครงการการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
คำสำคัญ:
ระดับจิตวิญญาณความเป็นครู, นักศึกษาวิชาชีพครูในโครงการการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครูในโครงการการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำแนกตามชั้นปีและรายด้าน ประชากรเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูในโครงการการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในปีการศึกษา 2558-2561 จำนวน 298 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ชั้นภูมิละ 40 % จากจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละชั้นปี จำนวนรวมทั้งสิ้น 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และ สถิติการเปรียบเทียบความแตกต่าง ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Anova)
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาวิชาชีพครูในโครงการการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ชั้นปีที่ 2 – 5 มีระดับจิตวิญญาณความเป็นครูโดยรวมทุกด้านสูงสุด ไม่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.40 ถึง 4.49 โดยมีนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.49 รองลงมาคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ตามลำดับ หากพิจารณารายด้านแสดงให้เห็นว่า ระดับจิตวิญญาณความเป็นครูด้านที่เกิดกับวิชาชีพครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.76 รองลงมาคือ ค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 ด้านที่เกิดกับผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 และด้านที่เกิดกับตนเอง มีค่าเฉลี่ย 4.28 ตามลำดับ และการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับจิตวิญญาณความเป็นครูจำแนกตามชั้นปีและรายด้าน พบว่า ระดับจิตวิญญาณความเป็นครูจำแนกตามชั้นปีและรายด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ
References
ชุลีพร อร่ามเนตร. (2562). 20ปี10โครงการผลิตครูปัญหา คุณภาพ ยังคงมีอยู่. (วันที่สืบค้น : 12 มกราคม 2563). จาก : https://www.komchadluek.net/news/edu-health/395706.
ดวงใจ ชนะสิทธิ์ ชัยยุธ มณีรัตน์ และพงษ์เทพ จิระโร. (2559,มกราคม – มิถุนายน).จิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม Spiritual teacher of the Faculty of Education Nakhon Pathom Rajabhat Universtiy.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 8(1), 107-131.
ธรรมนันทิกา แจ้งสว่าง. (2554). ประสบการณ์ของการเป็นครูผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู : การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). คิดเพื่อครู คำบรรยายระหว่างดำรงตำแหน่งประธานกรรมการคุรุสภา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวิดา มหาวงศ์,พาสนา จุลรัตน์,อนุ เจริญวงศ์ระยับ และช่อลัดดา ขวัญเมือง.(2562).การพัฒนาแบบวัดจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ,17(2),201-220.
วัลนิกา ฉลากบาง.(2559,พฤษภาคม - สิงหาคม). จิตวิญญาณความเป็นครู: คุณลักษณะสำคัญของครูมืออาชีพ The Spirituality of Teachers: A Key Characteristic of Professional Teachers. (วันที่สืบค้น :12 มกราคม 2563). จาก : https://www.tcithaijo.org/index.php/npuj/article/view/65307.
สำนักงานการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง การคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ประจำปีการศึกษา 2561 เพื่อศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครูระดับปริญญาตรี (5 ปี). (วันที่สืบค้น : 24 กุมภาพันธ์ 2563).จาก https://muakru.thaijobjob.com
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579.กรุงเทพฯ :บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม