การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน เรื่องความน่าจะเป็นเบื้องต้น โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์

ผู้แต่ง

  • ภควดี สุดสงวน 038500000 ต่อ 6262

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยได้ออกแบบงานวิจัยครั้งนี้เป็นแบบ One-Group Pre-Post-test Design เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์       ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็นเบื้องต้น โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็นเบื้องต้น ของนักศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์จำนวน 1 ห้อง 24 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งใช้วิธีจับฉลากจากประชากรคือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวันในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง ความน่าจะเป็นเบื้องต้น จำนวน 1 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็นเบื้องต้น จำนวน 20 ข้อ ประเด็นปัญหา ในเรื่องความน่าจะเป็นเบื้องต้น และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (T-test for dependent Samples)

             ผลการศึกษาพบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็นเบื้องต้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องความน่าจะเป็นเบื้องต้นของนักศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ชนม์นิภา เพชรรุ่ง และคณะ. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้
เทคนิคการสอนแบบ Jigsaw สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนน้ำริดวิทยา
อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์
ศึกษาครั้งที่ 2 วันที่ 21-22 มีนาคม 2562. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ : บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ณัฏฐ์ชญา อินพูลวงษ์. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เจตคติต่อคณิตศาสตร์ และ
พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือ เทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตร
และการสอน) มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Theories and
Development of instructional model). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ ฯ :
โรงพิมพ์เอส.พริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.
พันทิพา หนูซื่อตรง และ อนิรุทธ์ สติมั่น. (2561). ผลการเรียนด้วยหนังสือเรียนร่วมกับเทคโนโลยี
ความจริงเสริม และกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ วิชาสังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา.
Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(2), 909-925.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัชนี ทาเหล็ก. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง เส้นขนาน ที่มีต่อ
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สารนิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ลียานา ประทีปวัฒนพันธ์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น
ของนักเรียนห้องเรียน สสวท. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการ
เรียนรู้ 7E ร่วมกับการเรียนแบบ STAD. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
(สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา.
วนิดา ชมพูพงษ์. (2556). ผลการใช้ชุดการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอวื เรื่องภูมิศาสตร์
ประเทศไทย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน
เทศบาล ๔ (เชาวนปรีชาอุทิศ). Veridian E-Journal, Silpakorn University, 6(2), 597-611.


วิภาดา คล้ายนิ่ม, ชานนท์ จันทรา และต้องตา สมใจเพ็ง. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้รูปแบบ SSCS.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 10(2), 329-345.
วีระพน ภานุรักษ์ และจรัญ เจิมแหล่. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือโดยใช้
เทคนิคจิ๊กซอว์ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2. การประชุมวิชาการระดับชาติ
การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 วันที่ 30-31 มีนาคม 2559. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิริพร ศรีจันทะ และประดิษฐ์ วิชัย. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิ๊กซอว์ รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ของนักศึกษาระดับ
ปริญญาตรี. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 วันที่ 22
มิถุนายน 2560. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ ฯ :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุวัทนา สงวนรัตน์. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม
ร่วมมือแบบจิ๊กซอว์ เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ รายวิชา EDCI 201 การออกแบบการจัดการ
เรียนรู้. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและ
นานาชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15 ประจำปี 2558
วันที่ 23 กรกฎาคม 2558. เพชรบูรณ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
อัญญปารย์ ศิลปะนิลมาลย์. (2558). การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ในรายวิชาหลักการ
พื้นฐาน สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสิน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ฉบับพิเศษ มหกรรม
วิชาการภูมิปัญญา กลุ่มชาติพันธุ์นานาชาติลุ่มน้ำโขง, 2(2), 60-70.
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกุล. (2561). การวิจัยทางการศึกษา แนวคิดและการประยุกต์ใช้ Educational
Research Concepts and Applications. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-17