การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD และวิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD วิธีการทางประวัติศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประวัติศาสตร์ เจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และเพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์หลังเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD และวิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD และวิธีการทางประวัติศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD และวิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคSTAD และวิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิคSTAD และวิธีการทางประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คิดเป็นร้อยละ 76.41 สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- เจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคSTAD และวิธีการทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 อยู่ในระดับมาก
References
ชัชรวี ธรรมเกษตรศรี. (2558). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์กับการจัดการ
เรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2540). อารยธรรมไทย: พื้นฐานทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทต้นอ้อแกรมมี่จำกัด.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี (บรรณาธิการ). (2527). ปรัชญญาประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัทนา เกษกมล. (2535). ประวัติศาสตร์และวิธีการทางประวัติศาสตร์: เอกสารคำสอนวิชาประวัติศาสตร์นิพนธ์ 1 (ปศ 302). ชลบุรี: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
รพีกิจ ไพรสินธุ์. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้สัญลักษณ์ชาติไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการสอนแบบร่วมมือ
เทคนิคSTAD. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรัชภัฏสุรินทร์.
ลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล. (2527). คู่มือการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทย ส 028 ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์กรมหาชน). (2561). รายงายผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. 1 ธ.ค. 60, จาก
http//www.niets.or.th.
อดิศร ศักดิ์สูง. (2554). ครูสังคมศึกษากับประวัติศาสตร์: เทคนิคการสอนและการทำผลงานทางวิชาการ. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.
อัครเดช แสนณรงค์. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส31103 ประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนด้วยิธีการทาง
ประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
D. W.,& Johnson, R.T. Johnson. (1994). An overview of cooperative learning. Creativity and collaborative learning. 45, 31-34
R.E. Slavin. (1995). Cooperative learning: Theory, research and practice (2nd ed.). Massachusetts: Simon&Schuster.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารครุพิบูล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม