การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ระบบสมการ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการใช้คำถาม
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, การจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด, การใช้คำถามบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 เรื่องระบบสมการโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการใช้ค าถามและศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสมการโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการใช้ค าถามกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2560 จ านวน1 ห้องจ านวนนักเรียน47 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มจากจ านวน12 ห้องเรียนโดยแต่ละห้องเรียนจัดนักเรียนแบบคละความสามารถทางการเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องระบบสมการชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 จำนวน 9 แผนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องระบบสมการซึ่งเป็นข้อสอบปรนัยแบบเติมค าตอบจ านวน10 ข้อและข้อสอบอัตนัยจ านวน2 ข้อคะแนนเต็ม30 คะแนนและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบสมการโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการใช้ค าถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบทีและน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบการบรรยายผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 เรื่องระบบสมการโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการใช้ค าถามหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์60% อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ.05และนักเรียนส่วนใหญ่เห็นในระดับมากถึงมากที่สุดว่ากิจกรรมการเรียนรู้ฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่างๆอย่างเป็นระบบกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้มีการใช้คำถามที่ช่วยพัฒนาการคิดได้มากขึ้น
References
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง.
ชุติมา ฉุนอิ่ม (2558) การพัฒนาการคิดเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามของบาดแฮม
(Badham).วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พจนา ทรัพย์สมาน. (2549). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555).คู่มือวัดผล ประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สาขาประเมินมาตรฐาน สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุธารัตน์ สมรรถการ. (2556) ผลการจัดการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยนและจัดหมู่ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และความ
สามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อำภารัตน์ ผลาวรรณ์. (2556) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิด (CGI) เรื่อง ความน่าจะเป็น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ความตระหนักในการรู้คิดและความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญา นิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
Badham, V. (1994) What's the Question?. Pamphlet 23. Primary Association for Mathematics, Australia
Carpenter,T.P. et al. (1989). Using knowledge of children’s mathematics thinking in classroom teaching: An experimental study. American Educational Research Journal.
26 (4): 499– 531.
Carpenter,T.P. et al.(2000). Cognitively Guided Instruction: A Research-Based Teacher Professional Development Program for Elementary School Mathematics: Research
Report. National Center for Improving Student Learning and Achievement in Mathematics and Science.
Davison (1990) Book Reviews. Sage journals ,Volume: 23 issue: 2, page(s): 198-199
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสารครุพิบูล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม