การพัฒนาชุดนวัตกรรมคณิตศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการต้นทุน ในโครงการฝึกงานสถานประกอบการ ฝึกประสบการณ์ทักษะกำไรชีวิตในโรงเรียน ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ทวีสิทธิ์ ปัญญายง
  • ธนพงษ์ คงหนองลาน
  • พีระพัฒน์ มีรอด
  • วราภรณ์ อินดวง

คำสำคัญ:

ชุดนวัตกรรมคณิตศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการต้นทุน, โครงการฝึกทักษะชีวิตฝึกงานสถานประกอบการ ฝึกประสบการณ์ทักษะกำไรชีวิตในโรงเรียน, แนวคิดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้บริบทเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและองค์ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฝึกงานสถานประกอบการ ฝึกประสบการณ์ทักษะกำไรชีวิตในโรงเรียน 2) เพื่อพัฒนาชุดนวัตกรรมฯ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้ชุดนวัตกรรมฯ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดนวัตกรรมฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านวังแดง (สหจิตวิทยาคาร) ที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการเลือกโดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ปัญหา ความต้องการในการบริหารจัดการต้นทุน ชุดนวัตกรรมฯ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบย่อย แบบทดสอบหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ

ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ ขาดความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นในการบริหารจัดการต้นทุน ได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ชั่ง ตวง ไม่สามารถคิดต้นทุนสินค้า ไม่สามารถคิดต้นทุน กำไรได้ ขาดความรู้การเก็บข้อมูลทางสถิติทำให้ไม่ทราบจำนวนสินค้าที่ขายได้ในแต่ละวัน ไม่มีการบันทึกทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย 2) ชุดนวัตกรรมฯ จำนวน 4 ชุด มีประสิทธิภาพ 80.00/83.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3) นักเรียนที่ใช้ชุดนวัตกรรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  หลังการใช้ชุดนวัตกรรมฯ พบว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถนำความรู้ไปใช้ในการบริหารจัดการกิจการในโครงการ และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดนวัตกรรมฯ อยู่ในระดับมาก (M=4.46, S=0.30)  

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพ ฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
จินดา พราหมณ์ชู เอกรัตน์ ศรีตัญญู และลัดดา มีศุข. (2553). การพัฒนาความเข้าใจเรื่องอัตราการ เกิดปฏิกิริยาเคมีและเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(4), 317-330.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน: Developmental Testing of
Media and Instructional Package. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 1-20.
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์, กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ปริวรรต สมนึก. (2558). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่อง “ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว”, วารสารท่องเที่ยวนานาชาติ, 11(1), 4-17.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3), กรุงเทพ ฯ : 3-คิว มีเดีย.
สกล ตั้งเก้าสกุลและอัมพร ม้าคนอง. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการใช้ บริบทเป็นฐาน ร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ เชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, วารสาร อิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 12(3), 451-452.
สุคนธ์ สินธพานนท์, นวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. (2553). (พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
Billie Cunningham et al. (2015). Accounting: Information for Business Decisions, (2nd ed),
Australia : Cengage learning.
De Jong O. (2008). Context-based chemical education: How to improve it. Chemical
Education International, 8(1). 1-7.
Jelena D. Stanisavljevic, Milica G. Pejcic and Ljubisa Z. Stanisavljevic. (2016). The Application of Context-Based Teaching in the Realization of the Program Content “The Decline of Pollinators”. Journal of Subject Didactics, 1(1), 51-63. DOI: 10.5281/zenodo.55476.
Terry Jones. (2008). Culinary Mathematic, New Jersey : John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-14