การศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • สุพัฒตรา กลมกลิ้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พุธิตา ศรียางนอก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, สมรรถนะดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพความต้องการจำเป็น และจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวมจำนวน 339 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามมีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งได้ข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และ และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient)  ตามวิธีการของครอนบาคเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index () ซึ่งจัดอันดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นจากค่ามากไปหาน้อย

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงครามภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สมรรถนะดิจิทัล ด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่ควรจะเป็นสมรรถนะดิจิทัลภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้ดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับปานกลาง

2. การจัดเรียงลำดับของความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม รายด้าน พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็น โดยจัดลำดับจากมากไปหาน้อย คือ (1) ด้านการใช้ดิจิทัล (2) ด้านการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล (3) ด้านการรู้ดิจิทัล ตามลำดับ

References

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. 2562. (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง.

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562. (2562, 6 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอน 69 ก.

พรชนิตว์ ลีนาราช. (2560). ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. วารสารห้องสมุด, 61(2), 76-92.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). มาตรฐานด้านทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy). https://km.li.mahidol.ac.th/digital-literacy/

วิริยา วิจิตรวาทการ. (2561). (2018, 2 พฤษภาคม). Creating Teacher of Tomorrow. https://www.youtube.com/watch?v=6RM3xGo7tUo

ศยามน อินสะอาด. (2565). สมรรถนะดิจิทัลของผู้สอนในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 18(1), 1-2.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษาแนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด.

Ribble, M. (2020, January 28). Digital citizenship is more important than ever. https://www.iste.org/explore/digital-citizenship-more-important-ever?articleid=535

UNESCO. (2018). ICT Competency Framework for Teachers. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000265721

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-23