การศึกษาปัญหาและความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการพูดสื่อสารของนักศึกษาครูภาษาไทย
คำสำคัญ:
ปัญหา, ความต้องการจำเป็น, สมรรถนะการพูดสื่อสาร, นักศึกษาครูภาษาไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการพูดสื่อสารของนักศึกษาครูภาษาไทยในทัศนะครูพี่เลี้ยงและอาจารย์ผู้สอน 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการพูดสื่อสารของนักศึกษาครูภาษาไทย เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามปัญหาการพูดสื่อสารของนักศึกษาครูภาษาไทยในทัศนะครูพี่เลี้ยงและอาจารย์ผู้สอน ประกอบด้วย การศึกษาเชิงปริมาณเป็นการศึกษาข้อมูลจากมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาข้อมูลจากข้อคำถามปลายเปิด โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการพูดสื่อสารของนักศึกษาครูภาษาไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาข้อมูลจากข้อคำถามปลายเปิด โดยการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูพี่เลี้ยงนักศึกษาครูภาษาไทยมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 152 คน อาจารย์สาขาวิชาภาษาไทยมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างที่มีประสบการณ์ในการสอนการพูดภาษาไทย จำนวน 5 คน และนักศึกษาครูภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่างจำนวน 155 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่ม โดยใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan)
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาการพูดสื่อสารของนักศึกษาครูภาษาไทยในทัศนะครูพี่เลี้ยงและอาจารย์ผู้สอน พบว่า ในทัศนะของครูพี่เลี้ยง นักศึกษามีปัญหาด้านน้ำเสียงมากที่สุด รองลงมา คือด้านบุคลิกภาพภายนอกและด้านภาษา ส่วนในทัศนะของอาจารย์ผู้สอน พบว่า นักศึกษามีปัญหาด้านบุคลิกภาพมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านภาษา และด้านเนื้อหา 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการพูดสื่อสารของนักศึกษาครูภาษาไทย พบว่า นักศึกษาครูภาษาไทยมีความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างสมรรถนะการพูดสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านบุคลิกภาพภายใน รองลงมาคือด้านบุคลิกภาพภายนอก และด้านเนื้อหา ตามลำดับ
References
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. ธรรมดาเพรส.
นิสดาร์ก เวชยานนท์. (2554). Competency Based Approach (พิมพ์ครั้งที่ 5). เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยสาสน์.
ราชบัณฑิตยสภา. (2564). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2543). วาทนิเทศและวาทศิลป์ หลักทฤษฎีและวิธีปฏิบัติยุคสหัสวรรษใหม่. จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ศิวาพร วัฒนรัตน์. (2552). ทักษะการใช้ภาษาไทย. หจก.ธนุชพริ้นติ้ง.
วิเศษ ชาญประโคน. (2550). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2550). หลักและปรัชญาของวาทวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
McClelland, D., C. (1973). Testing for Competence Rather Than for “Intelligence”. American Psychologist, 28(1), 1–14.
สำนักงาน ก.พ. (2548). ความรู้เรื่องสมรรถนะ. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/Attachment/page/khuumuuesmrrthna.pdf

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม