การสร้างแบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

THE DEVELOPMENT OF A Collaborative Problem-Solving Competency Test For Lower Secondary School Students

ผู้แต่ง

  • นิรดา สุทธวิรีสรรค์ 0821636940

คำสำคัญ:

สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ การสร้างแบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1เพื่อสร้างแบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือที่สร้างขึ้นตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของปีการศึกษา 2562 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 (นครสวรรค์และอุทัยธานี) จำนวน 740 คน จำนวน 10 โรงเรียน เครื่องมือที่สร้างเป็นแบบวัดที่เป็นสถานการณ์ทั่วไปที่นักเรียนต้องพบในชีวิตประจำวัน แบบเลือกตอบ จำนวน 3 ตัวเลือก มีสถานการณ์ทั้งหมด 3 สถานการณ์ แต่ละข้อคำตอบจะมีคะแนนแตกต่างกัน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ สูง(3) กลาง(2) และต่ำ(1) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ แบบวัดโดยการหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์(เพียร์สัน)โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองโดยใช้โปรแกรม LISREL

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผลการสร้างแบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้ มีข้อคำถามทั้งหมด 24 ข้อ แบ่งเป็น 3 สถานการณ์ โดยสถานการณ์ที่ 1 : จัดป้ายนิเทศ 12 ข้อ สถานการณ์ที่ 2 : รายงานกลุ่ม 5 ข้อ และสถานการณ์ที่ 3 : ประดิษฐ์กระทง 7 ข้อ

2. ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ แบบวัดมีความตรงเชิงเนื้อหา(IOC) โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ความเที่ยงของแบบวัด(reliability) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเที่ยงของแบบวัดรายข้อทั้งฉบับ 0.803 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ตัวบ่งชี้ทุกตัวเป็นตัวบ่งชี้ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 12  ตัว ครอบคลุมองค์ประกอบสมรรถนะย่อย 3 ด้าน วิเคราะห์ความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การสร้างแบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 24.95 , df = 17 , p-value = 0.095, RMSEA = 0.025) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ทั้ง 3 ด้าน มีค่าเป็นบวก มีขนาดตั้งแต่ 0.884 ถึง 0.990          โดยองค์ประกอบด้านการสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกัน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากสุด รองลงมาคือ องค์ประกอบด้านการเลือกวิธีดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา และองค์ประกอบด้านการสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่ม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.990, 0.987และ 0.884 ตามลำดับ และมีความแปรผันร่วมกับองค์ประกอบการสร้างแบบวัดสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ร้อยละ 98, 97, และ 78 ตามลำดับ

References

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). ประมวลสาระชุดวิชา การพัฒนาเครื่องมือสําหรับการประเมินการศึกษา (หน่วยที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ศรีอนันต์การพิมพ์, 2553.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุรีวิริยาสาส์น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA 2015 ด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ (Collaborative Problem Solving: CPS). สืบค้น 10 มีนาคม 2562, จาก www.ipst.ac.th
สาลินี จงใจสุรธรรม. (2546). การพัฒนาแบบทดสอบวัดวัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8(พ.ศ.2540-2544). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
เอกรินทร์ อัชชะกุลวิสุทธิ์.(2557). การประเมินด้านการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของ PISA 2015, นิตยสารสสวท. ปีที่ 43 ฉบับที่ 191 พฤศจิกายน- ธันวาคม 2557, หน้า 37-41.
Hesse, K., Kriston, L., Mehl, S., Wittorf, A., Wiedemann, W., Wolwer, W., et al. (2015). The vicious cycle of family atmosphere, interpersonal self-concepts, and paranoia in schizophrenia-a longitudinal study. Schizophr. Bull. doi: 10.1093/schbul/sbv055
Householder, D.L. and Hailey, C.E. (2012). Incorporating engineering designchallenges Into STEM courses.Retrieved November 23, 2017, from http://digitalcommons.usu.edu/ncete_publication/166
OECD. (2013). PISA 2015 draft collaborative problem solving framework, Paris: OECD.
O’Neil, A., Berk, M., Itsiopoulos, C.,et al. (2013). A randomised, controlled trial of a dietary intervention for adults with major depression (the “SMILES” trial): study protocol. BMC Psychiatry,13, 114.https://doi.org/10.1186/1471-244X-13-114

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-04