การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาปฏิบัติการชีววิทยาโดยใช้วงจรการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • ณัฐกานต์ ศาสตร์สูงเนิน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์, วงจรการเรียนรู้, รายวิชาปฏิบัติการชีววิทยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในรายวิชาปฏิบัติการชีววิทยา ก่อนและหลังการเรียนการสอนโดยใช้วงจรการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนรายวิชาปฏิบัติการชีววิทยา จำนวน 11 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบจำนวน 20 ข้อ และแบบอัตนัยจำนวน 3 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย โดย Wilcoxon signed-rank test และการวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบทดสอบอัตนัย ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษา มีคะแนนสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 43.20 ของคะแนนเต็ม หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 46.80 ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ นักศึกษาส่วนใหญ่มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ในองค์ประกอบด้านการสำรวจปรากฏการณ์อยู่ในระดับดีมาก ความสามารถด้านการสร้างสมมติฐานและการพยากรณ์อยู่ในระดับปรับปรุง

References

กมลรัตน์ ฉิมพาลี, ประสาท เนืองเฉลิม, และ ลือชา ลดาชาติ. (2560). ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้oมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 8(1), 85-100.

กาญจนา มหาลี, และ ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2553). ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 16(5), 795-809.

เกรียงไกร อภัยวงศ์. (2548). ผลของการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการตั้งสมมติฐานนิรนัยที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

จันทร์พร พรหมมาศ. (2541). ผลการใช้วิธีวงจรการเรียนรู้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสัมฤทธิ์ผลและพฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

จุฬาลักษณ์ ยิ้มดี, และ วัชราภรณ์ แก้วดี. (2557). ผลของการเรียนการสอนโดยใช้ขั้นการเรียนรู้แบบอนุมานเบื้องต้นที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. An Online Journal of Education, 9(4), 309-323.

ดารารัตน์ นกขุนทอง. (2546) ผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดวงจรการเรียนรู้ ที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์ และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].

ดวงดาว กีรติกานนท์. (2557). ผลของการกระตุ้นให้ใช้ความรู้เดิมและการตั้งคำถามที่มีต่อความสามารถในการใช้เหตุผลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรีที่มีความรู้เดิม สาขาวิชา และเพศแตกต่างกัน. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 27(2), 157-183.

ปัทมา ป่าลั่นทม, และ ละดา ดอนหงษา. (2567). ผลของวงจรการเรียนรู้แบบ 5Es เสริมด้วยแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ต่อผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 6(2), 28-43.

ลฎาภา สุทธกูล, และ ลือชา ลดาชาติ. (2556). การให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), 21(3), 107-123.

ลือชา ลดาชาติ, และ ลฎาภา สุทธกูล. (2555). การสำรวจและพัฒนาความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Princess of Naradhiwas University Journal, 4(2), 73-90.

วรรณี ตปนียากร, จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร, กัลยารัตน์ อนนท์รัตน์, สุภาพร วรรณสันทัด, และ ปรัศนี สมิธ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1), 70-77.

สุนีย์ คล้ายนิล. (2547). ความรู้และทักษะของเยาวชนไทยสำหรับโลกวันพรุ่งนี้. รายงานการวิจัยโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2000 และ PISA Plus. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุวลักษณ์ เกิดมณี, อารี สาริปา, และ สุพัฒน์ บุตรดี. (2561). ผลของการใช้วงจรการเรียนรู้ที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์และความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(2), 114-123.

สุวิมล นาเพีย และจรรยา ดาสา. (2565). ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครุศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(4), 152-163.

Brwon, P.L., and Abel, S.K. (2006). Examining the learning cycle. Perspectives: Research and Tips to support science Education, K-6. https://www.sciencefromscientists.org/wpcontent/uploads/2017/06/brownandabellearningcycle.pdf

Karplus, R., and Thier, H.D. (1967). A new look at elementary school science. Chicago, Rand McNally.

Lawson, A.E. (2001). Using the learning cycle to teach biology concepts and reasoning patterns. Journal of Biology Education, 45, 165-169.

Lawson, A.E. (1995). Science Teaching and Developing of Thinking. Belmont: Wadsworth Publishing company.

Lawson, A.E. (2004). The nature and development of scientific reasoning: A synthetic view. International Journal of Science and Mathematics Education, 2(3), 307.

Lawson, A.E. (2010). Basic inferences of scientific reasoning, argumentation, and discovery. International Journal of Science Education, 94(2), 336-364.

Marek, E.A., Laubach, T.A., & Pedersen, J. (2003). Preservice elementary school teachers’ understanding of theory-based science education. Journal of Science Teacher Education. 14(3), 147–159.

Michelle W. (2016). The college science learning cycle: An instructional model for reformed teaching. CBE—Life Sciences Education, 15(4), 1-12.

Organization for Economic Cooperation and Development (OECD). (September 2012). PISA 2015 Item submission guidelines: Scientific literacy.

Stewart, M., & Stavrianeas, S. (2008). Adapting the learning-cycle to enrich undergraduate neuroscience education for all students. Journal of undergraduate neuroscience education: JUNE: a publication of FUN, Faculty for Undergraduate Neuroscience, 6(2), A74–A77.

Yanto, B.E., Subali, B., & Suyanto, S. (2019). Measurement Instrument of scientific reasoning test for biology education students. International Journal of Instruction, 12(1), 1383-1398.

Zeineddin, A, and Abd-El-Khalick, F. (2010). Scientific reasoning and epistemological commitments: Coordination of theory and evidence among college science students. Journal of Research in Science Teaching, 47, 1064-1093.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024