ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ร่างกายมนุษย์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และ สมรรถนะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทพสุวรรณชาญวิทยา จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • สิริวรรณ ทรัพย์ประเสริฐ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงเดือน สุวรรณจินดา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, แผนผังความคิด, สมรรถนะการคิดแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายมนุษย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทพสุวรรณชาญวิทยา จังหวัดสมุทรสงคราม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายมนุษย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดและแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดสมรรถนะการคิดแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ร่างกายมนุษย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) สมรรถนะการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). รายงานเฉพาะเรื่องที่ 12 หลักสูตรและการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ. หลักสูตรและการสอนฐานสมรรถนะ (คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา). https://cbethailand.com /เอกสาร/เอกสารที่เกี่ยวข้อง/หลักสูตรและการสอนฐานสม/

ขวัญฤดี ผลอนันต์, และ ธัญญา ผลอนันต์. 2550. Mind Map กับการศึกษาและการบริหารความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขวัญข้าว '94.

จิรัฐ ชวนชม. (2561). ความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรมจัดทำแผนที่ความคิดใน รายวิชาการพัฒนาสมรรถนะ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(2), 43-55.

ชฎาพร มีเอนก, พัชรินทร์ รั้งท้วม, และ สุภาณี เส็งศรี. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครโมโซมและสารพันธุกรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 5(2), 219-233.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). เทคนิคการใช้คำถาม พัฒนาการคิด. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

ฐาปนีย์ อัยวรรณ. (2555). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ร่างกายมนุษย์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5Es). วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 35(4), 27-33.

ธัญญา ผลอนันต์. (2551). Mind maps ฉบับคนพันธุ์ใหม่ วัยใส ๆ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขวัญข้าว '94.

บรรจง อมรชีวิน. (2554). Thinking School สอนให้คิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ปิยนุช แหวนเพชร, และ บุษบา บัวสมบูรณ์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้แผนที่ความคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(2), 178-190.

พิสิฐ โมกขาว. (2561). การส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้วยบทเรียนแสวงรู้บนเว็บที่มีการส่งเสริมศักยภาพทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบรบือ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].

วรรณภา บำรุงพันธ์, และ ยุพิน ยืนยง. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคแผนผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ (มสป.), 23(2), 186-207.

วรลักษณ์ คำหว่าง. (2561). แนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 129-138.

ศศิธร พงษ์โภคา, และ อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2558). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด. Veridian E-Journal, Slipakorn University, 8(2), 1223-1237.

ศิรินุช ทองขาว. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เสริมด้วยเทคนิคการจัดแผนผังมโนทัศน์ เรื่องการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม รายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพธุรกิจและบริการของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2. ใน ทัศนีย์ ประธาน (บ.ก.), การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่(น. 1304-1314). https://www.hu.ac.th/conference/conference2023/proceedings/index.html

สุนันทา พุฒพันธ์. (2560). การพัฒนาตัวชี้วัดของสมรรถนะด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 17(1), 125-135.

สุภาวดี บุษราคัม. (2563). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(3), 167-174.

สุวิทย์ มูลคำ, และ อรทัย มูลคำ. (2544). เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัท ที.พี.พริ้นท์.

เสาวนีย์ พันธัง, และ วิทยา วรพันธุ์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องโลกและทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับแผนผังความคิด (Mind Mapping). ใน วรปภา อารีราษฎร์ (บ.ก.), The 6th National Conference on Technology and Innovation Management NCTIM 2020, Rajabhat Maha Sarakham University, Maha Sarakham Thailand. (น. 2358-2365) https://www.researchgate. net/publication/349044729

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2565). แนวทางการส่งเสริมการคิดขั้นสูงด้วยกิจกรรมจรวดหลอดดูด (Straw Rocket). นิตยสาร สสวท, 50(237), 17-21.

อัจฉรา อินทร์น้อย. (2555). ผลการสอนโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนที่ความคิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/2254

ฮิวจ์ เดลานี. (2562, 22 เมษายน). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจสำคัญของการศึกษา. องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย. https://www.unicef.org/thailand/th/stories/การศึกษาสำหรับศตวรรษที่-21

Stokhof, H., de Vries, B., Bastiaens, T., & Martens, R. (2020). Using Mind Maps to Make Student Questioning Effective: Learning Outcomes of a Principle-Based Scenario for Teacher Guidance. Res Sci Educ, 50, 203–225. https://doi.org/10.1007/s11165-017-9686-3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2024