การศึกษาแบบตัดขวางความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • ธิติสันติ์ ร่วมชาติสกุล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ณวรา สีที คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การศึกษาแบบตัดขวาง, การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการศึกษาวิทยาศาสตร์ งานวิจัยที่ผ่านมาศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีที่ 2 และปีที่ 3 แยกกัน แต่ยังขาดการศึกษาแนวโน้มของความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มและเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้การศึกษาแบบตัดขวาง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี จำนวน 390 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่าความสามารถในการให้เหตุผลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพอใช้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 อยู่ในระดับดี ซึ่งคะแนนเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นครูผู้สอนควรออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ให้มากขึ้น

References

กาญจนา มหาลี, และ ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2553). ความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 16(5), 795-809.

พัณนิดา มีลา, และ ร่มเกล้า อาจเดช. (2560). การสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการอธิบายทางวิทยาศาสตร์: การส่งเสริมการสร้างความหมายในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 1-15.

ภคพร อิสระ. (2557). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีและความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. [ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ณัฐมน สุชัยรัตน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). กรอบโครงสร้างการประเมินผลนักเรียนโครงการ PISA 2015. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์. (2555). ผลของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ต่อตัวแทนความคิดเรื่อง ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

สุทธิชาติ เปรมกมล. (2558). ผลของการใช้การสืบสอบแบบเน้นแบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และการให้เหตุผลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Fanetti, T. M. (2011). The effect of problem-solving video games on the science reasoning skills of college students. USA: University of Missouri-Saint Louis.

Geddis, A. N. (1991). Improving the quality of science classroom discourse on controversial issues. Science Education, 75(2), 169-183.

Kuhn, D. (1993). Science as Argument: Implications for Teaching and Learning Scientific Thinking. Science education, 77(3), 319-337.

Lawson, A. E. (2010). Basic inferences of scientific reasoning, argumentation, and discovery. Science Education, 94(2), 336-364.

McNeill, K. L., & Krajcik, J. (2008). Scientific explanations: Characterizing and evaluating the effects of teachers' instructional practices on student learning. Journal of Research in Science Teaching: The Official Journal of the National Association for Research in Science Teaching, 45(1), 53-78.

OECD. (2018). Further evidence on the trade-energy consumption nexus in OECD countries. Energy policy, 117, 160-165.

Sardana, D., Terziovski, M., & Gupta, N. (2016). The impact of strategic alignment and responsiveness to market on manufacturing firm's performance. International Journal of Production Economics, 177, 131-138.

Weld, J. Stier, M., & McNew-Birren, J. (2011). The Development of a Novel Measure of Scientific Reasoning Growth Among College Freshmen: The Constructive Inquiry Science Reasoning Skills Test. Journal of College Science Teaching, 40(4). 101-107.

Zeineddin, A., & Abd-El-Khalick, F. (2010). Scientific reasoning and epistemological commitments: Coordination of theory and evidence among college science students. Journal of research in science teaching, 47(9), 1064-1093.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2024